Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78230
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรวีร์ โฮเว่น-
dc.contributor.authorสุทธาวัลย์ ใส้เพี้ย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-03-14T08:21:28Z-
dc.date.available2022-03-14T08:21:28Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78230-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้สนใจที่จะพัฒนากลุ่มอนุภาคแม่เหล็กนาโน (magnetic nanoparticle clusters, MNCs) สำหรับการแยกและการตรวจวัดเชื้อสเตรปโตคอคคัสมิวแทนส์ (S.mutans) เริ่มจากการสังเคราะห์ MNCs ผ่านกระบวนการโซลโวเทอร์มอล จากนั้นกราฟต์ด้วยพอลิแอคริลิกแอซิด (PAA) บนพื้นผิวของ MNCs ด้วยปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันริเริ่มจากพื้นผิวของแอคริลิกแอซิดผ่านกลไกแบบ reversible addition-fragmentation chain transfer จากการที่พื้นผิวของ MNCs ที่กราฟต์ด้วย PAA มีหมู่คาร์บอกซิลจำนวนมาก ทำให้สามารถตรึง cell wall binding domain (CWBD) ของ automutanolysin เอนไซม์ซึ่งจำเพาะเจาะจงกับเชื้อสเตรปโตคอคคัสมิวแทนส์คอคไค บนพื้นผิว MNCs ที่กราฟต์ด้วย PAA โดยใช้ EDC/NHS เป็นรีเอเจนต์คู่ควบได้ ทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ของ MNCs ทั้งก่อนและหลังการกราฟต์ด้วย PAA และการคอนจูเกตกับ CWBD ด้วยฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (FT-IR) การกระเจิงแสงแบบไดนามิกส์ (DLS) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) จากการนำ MNCs ที่คอนจูเกตกับ CWBD ไปทดสอบการแยกและตรวจวัด S.mutans ผ่านการแยกด้วยสนามแม่เหล็กและการกรองแบบเลือกผ่านโดยใช้เซลลูโลสแอซิเตดเมมเบรนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8 ไมโครเมตร พบว่าไม่ประสบความสำเร็จในการบอกความแตกต่างเชิงปริมาณของ S. mutans ที่มีความเข้มข้นต่างกันได้ ถึงแม้ผลจากการนับจำนวนแบคทีเรียก่อนและหลังการจับกับอนุภาคยืนยันได้ว่าอนุภาคสามารถจับกับแบคทีเรียได้จริง ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากการที่อนุภาคดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของรูพรุนของแผ่นเมมเบรนen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to develop magnetic nanoparticle clusters (MNCs) for separation and detection of Streptococcus mutans (S. mutans). The MNCs were synthesized by a solvothermal method. Poly(acrylic acid) (PAA) was grafted on MNCs by surface-initiated polymerization of acrylic acid via reversible addition-fragmentation chain transfer (RAFT) mechanism. Readily available carboxyl groups on the PAA-grafted MNCs can bind with the cell wall binding domain (CWBD) of automutanolysin, the enzyme that is specific to mutans streptococci using EDC/NHS as coupling reagents. The MNCs both before and after PAA grafting and CWBD conjugation were characterized by Fourier transform infrared spectroscopy (FT-IR), dynamic light scattering (DLS), and transmission electron microscopy (TEM). The CWBD-conjugated MNCs were tested for their ability to separate and detect S. mutans by magnetic separation and selective filtration using cellulose acetate membrane with a diameter of 0.8 μm. Because the size of the CWBD-conjugated MNCs was larger than the pore diameter of the membrane, the CWBD-conjugated MNCs failed to quantitatively distinguish the S. mutans having different concentrations although the counting method confirmed that they can capture the bacteria.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสเตรปโตค็อกคัสมิวแทนส์en_US
dc.subjectอนุภาคนาโนแม่เหล็กen_US
dc.subjectStreptococcus mutansen_US
dc.subjectMagnetic nanoparticlesen_US
dc.titleการพัฒนาอนุภาคแม่เหล็กนาโนสำหรับการตรวจวัดเชื้อสเตรปโตคอคคัสมิวแทนส์en_US
dc.title.alternativeDevelopment of magnetic nanoparticles for detection of Streptococcus mutansen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttawan Sa_Se_2559.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.