Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7829
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิไลรักษ์ สันติกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2008-08-22T02:59:34Z | - |
dc.date.available | 2008-08-22T02:59:34Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7829 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของการโฆษณาไทยในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึง พ.ศ.2453 อันเป็นปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 5 และเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการโฆษณาไทยในช่วงเวลาข้างต้นไว้เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร ศึกษาวิเคราะห์โฆษณาในหนังสือพิมพ์เก่าและนิตยสารเก่า สมัยรัชกาลที่ 3, 4 และ 5 ประกอบหนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยและเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากหอสมุดแห่งชาติและห้องสมุดสถาบันการศึกษาต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า วิวัฒนาการของการโฆษณาไทยตั้งแต่อดีตจนถึง พ.ศ.2453นั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ยุค คือ ยุคป่าวประกาศและยุคบุกเบิกในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร โดยแต่ละยุคมีลักษณะของการโฆษณาดังนี้ 1. ยุคป่าวประกาศ เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยุคนี้เป็นยุคที่ยังไม่มีสื่อมวลชนสมัยใหม่ ผู้คนในสังคมยังใช้การสื่อสารด้วยคำพูดเป็นหลัก ดังนั้นการโฆษณาขายสินค้าและบริการของเหล่าพ่อค้าแม่ค้าในตลาด หรือชุมนุมชนต่างๆ จึงใช้วิธีการร้องตะโกนป่าวประกาศ ร้องตะโกนให้ผู้คนที่ผ่านไปมาได้รู้ถึงสินค้าและบริการที่เสนอขาย เนื้อหาของการโฆษณาเป็นการบรรยายทั่วๆไป ถึงสรรพคุณและราคาของสินค้า นอกจากการโฆษณาป่าวประกาศนี้แล้ว ในส่วนของการโฆษณาในลักษณะอื่นๆ สันนิษฐานว่า ปลายๆยุคน่าจะเริ่มมีการใช้ป้ายชื่อร้านที่สืบเนื่องมาจากการเข้ามาตั้งหลักฐานของพ่อค้าชาวตะวันตก 2.ยุคบุกเบิกในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร เริ่มจากปลายสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึง พ.ศ.2453 ปีสุดท้ายสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคนี้การพิมพ์เริ่มแพร่หลาย เกิดหนังสือพิมพ์ฉบับแรกคือ บางกอกรีคอร์เดอร์ขึ้น เป็นผลให้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสังคมไทย ในระยะแรกการโฆษณาในหนังสือพิมพ์และนิตยสารยังไม่มีมากเท่าใดนัก เพราะการโฆษณาเป็นของใหม่ ผู้คนในสังคมจำนวนมากยังไม่เข้าใจและเห็นความสำคัญของการโฆษณา จวบจนในสมัยรัชกาลที่ 5 การโฆษณาในหนังสือพิมพ์และนิตยสารจึงเริ่มมีมากขึ้น หนังสือพิมพ์และนิตยสารแทบทุกฉบับรับลงโฆษณาและประกาศแจ้งความ การดำเนินกิจกรรมด้านการโฆษณาส่วนใหญ่อยู่ในมือของชาวตะวันตก ผู้เป็นทั้งเจ้าของสื่อและผู้ลงโฆษณาหลักในขณะนั้น ในช่วงกลางและปลายรัชกาลและการโฆษณาไทยจึงเริมมีวิวัฒนาการขึ้นในด้านรูปแบบและเนื้อหา คนไทยเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับการโฆษณาเพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ของการเป็นเจ้าของสื่อและผู้โฆษณา | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปี 2543 | en |
dc.format.extent | 67555441 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.res.2003.46 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โฆษณา -- ไทย | - |
dc.title | วิวัฒนาการของการโฆษณาไทยตั้งแต่อดีตจนถึง พ.ศ. 2453 : งานวิจัย | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.res.2003.46 | - |
Appears in Collections: | Comm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vilailak.pdf | 65.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.