Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78433
Title: การทดสอบการเป็นยาปฏิชีวนะของสารสังเคราะห์ควิโนโลน
Other Titles: Antibacterial Activities of Synthetic Alkyl Quinolones
Authors: คณิตตา มานาดี
Advisors: สริสา ณ ป้อมเพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ควิโนโลน
ปฏิชีวนะ
Quinolone antibacterial agents
Antibiotics
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1960 มีการพัฒนาตัวยาปฏิชีวนะประเภทควิโนโลนอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะควิโนโลนรุ่นแรก ได้แก่ nalidixic acid และ oxolinic acid ยาปฏิชีวนะฟลูออโรควิโนโลนยุคก่อน เช่น norfloxacin หรือจะเป็นยาปฏิชีวนะฟลูออโรควิโนโลนสมัยใหม่ ได้แก่ ciprofloxacin และ moxifloxacin ในงานวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบความสามารถในการเป็นยาปฏิชีวนะของสารสังเคราะห์ควิโนโลนทั้งหมด 12 สาร ที่ได้รับมาจากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธี resazurin microdilution assay ในการหาค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Minimum Inhibition Concentration; MIC) และนำผลจาก MIC ไป Streak ลงบนอาหารแข็งที่ไม่มียาปฏิชีวนะเพื่อดูความเข้มข้นต่ำที่สุดที่ทำให้แบคทีเรียตาย (Minimum Bactericidal Concentration; MBC) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสาร KKAJ-A35 สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ Escherichia coli (ATCC 25922) ได้ ณ ความเข้มข้น 1000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรแต่สามารถเจริญเติบโตบนอาหารแข็งที่ไม่มียาปฏิชีวนะได้ เชื้อ Staphylococcus aureus (ATCC 6538P) ถูกยับยั้งด้วยสาร KKAJ-A51 และ KKAJ-A52 ณ ความเข้มข้นปานกลางที่ 125, 250 และ 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรและในความเข้มข้นนี้ S.aureus สามารถเจริญเติบโตบนอาหารแข็งที่ไม่มียาปฏิชีวนะได้หลังจากให้สารทั้งสอง แต่ที่ความเข้มข้นสูงขึ้นไปไม่สามารถยับยั้งการรเจริญเติบโตของ S. aureus ได้ ผลการทดสอบสุดท้ายแสดงให้เห็นว่าสารทั้งหมดไม่มีผลยับยั้งการเจริญของ Pseudomonas aeruginosa (ATCC 27853)
Other Abstract: Since 1960s, antibiotics of quinolone class have been developed and widely used such as first generation quinolones (nalidixic acid and oxolinic acid), early fluoroquinolones (norfloxacin) and modern fluoroquinolones such as ciprofloxacin and moxifloxacin. In this study, we tested antibacterial activity of 12 newly developed alkyl quinolone compounds received from Department of Chemistry, Faculty of Science, Chulalongkorn University. Resazurin microdilution assay was used to determine Minimum Inhibition Concentration (MIC) that is defined as the lowest inhibitory concentration of an alkyl quinolone solution. The samples from MIC results were streaked on drug-free nutrient agar to determine Minimum Bactericidal Concentration (MBC), which is the lowest concentration of antibacterial agents required to kill bacteria. The result showed that KKAJ-A35 could inhibit the growth of Escherichia coli (ATCC 25922) at concentration 1000 μg/ml but failed to kill bacteria. Staphylococcus aureus (ATCC 6538P) was inhibited by KKAJA51 and KKAJ-A52 at medium concentration (125, 250 and 500 μg/ml) and again at this concentration, S. aureus could grow on drug-free agar after the treatment of both alkyl quinolone, KKAJ-A51 and KKAJ-A52, suggesting bacteriostatic effect rather than bactericidal activity. Interestingly, at high concentration of the compounds, the inhibition was ineffective. The last test showed that all of synthetic alkyl quinolone compounds did not display antibacterial activity against Pseudomonas aeruginosa (ATCC 27853).
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78433
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-003 - Kanitta Manadee.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.