Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78530
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | รุ่งทิวา มารศรี | - |
dc.contributor.author | วรรษชล เล็กสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-03T04:04:04Z | - |
dc.date.available | 2022-05-03T04:04:04Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78530 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 | en_US |
dc.description.abstract | ไผ่เป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกร เนื่องจากไผ่เป็นพืชอเนกประสงค์ สามารถนำมาใช้งานได้ทุกส่วน แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าใบไผ่ส่วนมากถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นแค่เพียงปุ๋ยหมักและชาเท่านั้น ทั้งที่ใบไผ่มี แร่ธาตุ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และสารต้านเชื้อจุลินทรีย์หลากหลายชนิด รวมถึงเป็นแหล่งของเซลลูโลสที่เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพด้วย โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณเซลลูโลสในใบไผ่ต่างพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยและศึกษาความสามารถในการต้านเชื้อจุลินทรีย์เมื่อใบไผ่ถูกแปลงสภาพอยู่ในรูปของนาโนเซลลูโลส จากการศึกษาใบไผ่ 5 พันธุ์ พบว่า ใบไผ่ข้าวหลาม (กาบแดง) และใบไผ่ดำ (ชวา) มีปริมาณเซลลูโลสสูงกว่าอีกสามพันธุ์ ซึ่งมีปริมาณเท่ากับ 29.87% และ 26.53% ตามลำดับ ดังนั้นใบไผ่ทั้ง 2 พันธุ์จึงถูกนำมาผ่านกระบวนการทำเยื่อให้บริสุทธิ์และผลิตเป็นนาโนเซลลูโลส จากการวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยา พบว่าหลังผ่านกระบวนการทำเยื่อให้บริสุทธิ์ เส้นใยของใบไผ่ข้าวหลาม (กาบแดง) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าและความยาวเส้นใยที่ยาวกว่าเส้นใยจากใบไผ่ดำ (ชวา) ซึ่งส่งผลให้เส้นผ่านศูนย์กลางของนาโนเซลลูโลสจากใบไผ่ข้าวหลาม (กาบแดง) มีขนาดใหญ่กว่าใบไผ่ดำ (ชวา) เช่นกัน จากการทดสอบความสามารถในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ของนาโนเซลลูโลสที่อยู่ในรูปสารแขวนลอยในน้า พบว่านาโนเซลลูโลสจากใบไผ่ข้าวหลาม (กาบแดง) สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก (Staphylococcus aureus) ได้เล็กน้อย แต่ไม่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ (Escherichia coli) ได้ ในขณะที่นาโนเซลลูโลสจากใบไผ่ดำ (ชวา) ไม่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและลบ คาดว่าประสิทธิภาพการต้านเชื้อจุลินทรีย์อาจน้อยกว่าความเป็นจริง เนื่องจากตรวจพบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดอื่นในนาโนเซลลูโลสของใบไผ่ทั้ง 2 พันธุ์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข้างต้นสามารถใช้เป็นแนวทางการศึกษานาโนเซลลูโลสจากใบไผ่ได้ต่อไปในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | Bamboo is one of the alternative industrial crops for agriculturists. Since it is a multi-purpose plant, that entire part can be used. However, most of the bamboo leaves are only used in fertilizers and bamboo leaf tea. In fact, there are plenty of minerals, bioactive and antimicrobial compounds in bamboo leaves and they are a resource of cellulose, which is a kind of biopolymers. The objectives of the study were determination of cellulose contents in bamboo leaves from heterogeneous varieties in Thailand and examine antimicrobial activity of nanocellulose produced from the bamboo leaves. In this research, the five varieties of the bamboo leaves were studied. It was found that Cephalostachyum pergracile and Bambusa vulgaris Schrad. ex H. Wendl leaves had cellulose contents more than the others that were 29.87% and 26.53%, respectively. Thus, both varieties were selected for further processes which were purification and production of the nanocellulose. In morphological analysis after the purification, the obtained fibers from Cephalostachyum pergracile displayed larger diameters than those of Bambusa vulgaris Schrad. ex H. Wendl. Those results corresponded to sizes of the nanocellulose that fiber diameters from Cephalostachyum pergracile were larger than another one. In addition, it was found that antimicrobial activity of nanocellulose in water-based suspension form exhibited slight reduction of gram-positive bacteria (Staphylococcus aureus) in Cephalostachyum pergracile sample. However, that sample did not show antimicrobial activity with gram-negative bacteria (Escherichia coli). While the nanocellulose from another bamboo did not display reductions of any bacteria. The antimicrobial efficiency might be less than the fact because contaminations of other microbes in both samples were found. The above data could be nevertheless used as a guide for any future studies related to bamboo leaves. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ไผ่ | en_US |
dc.subject | เซลลูโลส | en_US |
dc.subject | จุลินทรีย์ | en_US |
dc.subject | Bamboo | en_US |
dc.subject | Cellulose | en_US |
dc.subject | Microorganisms | en_US |
dc.title | ปริมาณเซลลูโลสและการต้านเชื้อจุลินทรีย์ของใบไผ่จากพันธุ์ที่ต่างกันในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Cellulose Content and Antimicrobial Activity of Bamboo Leaves from Heterogeneous Varieties in Thailand | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-IMAGE-001 - Rungtiwa Marasri.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.