Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78632
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพร้อมพงศ์ เพียรพินิจธรรม-
dc.contributor.authorวรวีร์ จันทปัชโชติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-05-20T01:32:50Z-
dc.date.available2022-05-20T01:32:50Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78632-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563en_US
dc.description.abstractไมโคร/นาโนพลาสติกคือชิ้นพลาสติกที่สามารถถูกย่อยสลายให้เป็นพลาสติกที่มีขนาดเล็กจนกลายเป็นสิ่งตกค้างอยู่ในธรรมชาติ และส่งผลต่อวัฏจักรต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากจึงทำการศึกษา และตรวจวัดปริมาณของไมโคร/นาโนพลาสติกที่อาจปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคด้วยเทคนิคต่าง ๆ โดยในแต่ละเทคนิคมีประสิทธิภาพในการตรวจวัดไมโคร/นาโนพลาสติกได้ในระดับขนาดอนุภาคที่แตกต่างกัน ซึ่งหนึ่งในเทคนิคที่สามารถทำการตรวจวัดไมโคร/นาโนพลาสติกที่มีขนาดเล็กถึงไมโครเมตรคือเทคนิคเซอร์เฟซเอนฮานซ์รามานสแกตเทอริง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการตรวจวัดและวิเคราะห์ผลของขนาดของอนุภาคของไมโคร/นาโนพลาสติกทั้งหมด 5 ขนาดได้แก่ 0.1, 0.3, 0.6, 0.8 และ 1.1 ไมโครเมตร ด้วยเทคนิคเซอร์เฟซเอนฮานซ์รามานสแกตเทอริง ซึ่งเป็นเทคนิคที่อาศัยเซอร์เฟซพลาสมอนเรโซแนนซ์จาก silver nanoparticles เพื่อเพิ่มความเข้มของสัญญาณรามาน และทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ silver nanoparticles ด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี จากนั้นนำ silver nanoparticles มาผสมกับตัวอย่างคอลลอยด์ของพอลิสไตรีนแล้วปล่อยให้แห้ง จึงนำไปบันทึกสเปกตรัมด้วยเครื่องรามานสเปกโทรมิเตอร์ โดยในการวิเคราะห์ผลจะนำค่าอัตราส่วนความสูงพีคที่บริเวณ 1002 cm⁻¹ (จาก ring breathing mode ของพอลิสไตรีน) และ 1057 cm⁻¹ (จาก C-C deformation ของ silver nanoparticles) มาใช้ในการบ่งชี้ถึงปริมาณของคอลลอยด์พอลิสไตรีน จากผลการทดลองพบว่าคอลลอยด์พอลิสไตรีนที่ความเข้มข้น 0.1% สามารถตรวจวัดขนาด 1.1 µm ได้มากที่สุด และคอลลอยด์พอลิสไตรีนที่มีขนาดแตกต่างกัน ส่งผลต่อการตรวจวัดความเข้มข้นต่ำที่สุดที่ตรวจวัดได้ของคอลลอยด์พอลิสไตรีนen_US
dc.description.abstractalternativeMicro/nanoplastics are small pieces plastics which can digest. They will be residues in natural and affect to environmental cycling. For this reason, many researchers have studied and determined a micro/nanoplastics that may contaminate in foods and beverages using several techniques. Each technique has different efficiency for determination micro/nanoplastics in micrometer. In this research, the effect of particle size of the micro/nanoplastics (including 0.1, 0.3, 0.6, 0.8 and 1.1 μm) was determined and analysed by surface-enhanced Raman scattering (SERS) detection. SERS is a technique used to enhanced Raman signals using SERS surface plasmon resonance of silver nanoparticles (AgNPs) and it was characterized by UV-visible spectroscopy. The samples were prepared by mixing AgNPs colloid with polystyrene colloid, and then they were dried. After that, the samples were measured by Raman microscope. Raman intensity ratios of peaks at 1002 cm⁻¹ (from ring breathing mode of polystyrene) and 1057 cm⁻¹ (from C-C deformation of silver nanoparticles) were used for analysis quantity of polystyrene colloid. The results showed that, the 1.1 μm polystyrene colloid was significantly detected at 0.1% polystyrene colloid. Moreover, different particle size of polystyrene colloid has an effect on the detection limit of polystyrene colloid detection.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไมโครพลาสติกen_US
dc.subjectMicroplasticsen_US
dc.titleผลของขนาดอนุภาคของไมโคร/นาโนพลาสติกที่มีต่อการตรวจวัดด้วยเทคนิคเซอร์เฟซเอ็นฮานซ์รามานสแกตเทอริงen_US
dc.title.alternativeEffect of particle size of micro/nanoplastics on surface-enhanced Raman scattering detectionen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-CHEM-034 - Worawee Chanthapatchot.pdf20.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.