Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78673
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศารทูล สันติวาสะ-
dc.contributor.authorชนมน ทองพิลา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-05-31T03:50:26Z-
dc.date.available2022-05-31T03:50:26Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78673-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในสมัยนายอานันท์ ปันยารชุนดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นมา ได้มีการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มแทนภาษีการค้า โดยภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะจัดเก็บจากฐานการบริโภคซึ่งตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี สำหรับฐานรายได้ในส่วนที่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี ทั้งนี้คำว่า “บริการ หมายถึง การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า” และการดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทในช่วงเวลานั้นก็จัดเป็นการให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานรายได้ของหน้าที่งานกรรมการ ต่อมาในปี พ.ศ.2558 ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 205 ที่กำหนดให้การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามที่กฎหมายกำหนด และกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยราชการ ไม่ถือว่าเป็นการให้บริการและส่งผลให้การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการปฏิบัติงานในฐานะกรรมการ หากตีความตามความหมายของ “บริการ” ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นพบว่า การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการเป็นการให้บริการ เนื่องจากเป็นการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า แต่การปฏิบัติงานดังกล่าวมิใช่การกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเสียมากกว่า เนื่องจากการขายสินค้าหรือการให้บริการซึ่งรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายมหาชนที่ได้กระทำในฐานะที่เป็นองค์กรมหาชนนั้น เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายในการควบคุมกิจการต่าง ๆ (regulatory activity) ซึ่งมิใช่การประกอบธุรกิจการค้าใด ๆ ด้วยเหตุนี้ การออกประกาศฯ เพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่กล่าวว่า การปฏิบัติงานในฐานะกรรมการไม่ถือว่าเป็นการให้บริการนั้น ในความเห็นของผู้ศึกษาจึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร จากปัญหาข้างต้น พบว่า การพิจารณาขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร โดยเฉพาะความหมายของการกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพนั้นมีความสำคัญต่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากยังมีการใช้บังคับที่ผิดเพี้ยนออกไปจากหลักการที่แท้จริงซึ่งมีสาเหตุมาจากความเร่งรีบในการประกาศใช้กฎหมายให้ทันในช่วงที่มีสภาพิเศษในปี พ.ศ.2534 และปัญหาการตีความของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายอีกด้วย ทั้งนี้ในต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรป และราชอาณาจักรบาห์เรนที่ทางผู้ศึกษาเลือกมาศึกษานั้น ได้มีการกำหนดขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นการกระทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงจัดทำเอกัตศึกษาฉบับนี้ขึ้น เพื่อศึกษาขอบเขตการใช้บังคับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรรมการซึ่งได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมกรรมการen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.157-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีมูลค่าเพิ่มen_US
dc.subjectการยกเว้นภาษีอากรen_US
dc.titleปัญหาการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือ วิชาชีพตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีเบี้ยประชุมกรรมการen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsantivasa@hotmail.com-
dc.subject.keywordเบี้ยประชุมกรรมการen_US
dc.subject.keywordค่าตอบแทนen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.157-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380008134.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.