Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78697
Title: การเตรียมยางธรรมชาติคอมโพสิตที่เติมเส้นใยจากถ้วยกระดาษจุฬาฯ ซีโรเวสต์
Other Titles: Preparation of Natural Rubber Composite Filled with Fibers from Chula Zero Waste Paper Cup
Authors: ชนมน บุญรอด
ภัทรภร ธีรสุขพิมล
Advisors: สมพร ชัยอารีย์กิจ
กุนทินี สุวรรณกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ยางธรรมชาติ
เยื่อกระดาษ
Natural rubber
Wood-pulp
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการการเรียนการสอนเพื่อเสริมประสบการณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เยื่อกระดาษจากการรีไซเคิลถ้วยกระดาษจุฬาฯ ซีโรเวสต์ต่อสมบัติของคอมโพสิตยางธรรมชาติ โดยการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เริ่มจากการเตรียมเส้นใยจากถ้วยกระดาษจุฬาฯ ซีโรเวสต์ด้วยการปั่นด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้และบดด้วยเครื่องบดแบบลูกบอล เส้นใยที่เตรียมมีอยู่ด้วยกัน 2 ชุด โดยชุดที่ 1 เป็นเส้นใยที่ไม่ผ่านการกรองด้วยตะแกรง ในขณะที่ชุดที่ 2 เป็นเส้นใยที่ผ่านการกรองด้วยตะแกรงขนาด 50 เมช จากนั้นนำไปศึกษาลักษณะของเส้นใยด้วยเครื่องมือวัดสัณฐานวิทยาของเส้นใย พบว่าเส้นใยที่ผ่านการกรองด้วยตะแกรง 50 เมช มีความยาวของเส้นใย มากกว่า และเส้นใยมีความโค้งงอ และดัชนีการหักงอ น้อยกว่าเส้นใยที่ไม่ได้ผ่านการกรอง ในส่วนที่ 2 นำน้ำเยื่อแต่ละชุดไปผสมกับน้ำยางธรรมชาติที่สัดส่วนยาง 100 ส่วนต่อเส้นใยแห้ง 1 ส่วน (1 phr) ทำการคนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง จากนั้นทำการขึ้นรูปเป็นแผ่นยางด้วยวิธีหล่อแบบ และขึ้นแผ่นยางธรรมชาติที่ไม่มีการผสมเส้นใยด้วยเพื่อเป็นการทดลองควบคุม นำแผ่นยางที่ได้ไปผสมกับสารเคมียางด้วยเครื่องผสมระบบปิดและเครื่องบดยางสองลูกกลิ้ง ทำการทดสอบสมบัติการวัลคาไนซ์ด้วยเครื่องทดสอบการคงรูปยางแบบไร้โรเตอร์ ที่อุณหภูมิ 155 องศาเซลเซียส และขึ้นรูปยางด้วยเครื่องขึ้นรูปแบบกดอัด นำคอมโพสิตยางที่ได้ไปทดสอบสมบัติเชิงกล ได้แก่ ทดสอบความต้านทานแรงดึง และทดสอบความต้านทานแรงฉีกขาด โดยจากการทดสอบพบว่าการเติมเส้นใยทั้งที่ผ่านการกรองและไม่ผ่านการกรองทำให้คอมโพสิตยางธรรมชาติมีสมบัติการคงรูปที่ดีขึ้น โดยคอมโพสิตยางที่เติมเส้นใยที่ไม่ได้ผ่านการกรองมีความสามารถในการคงรูปได้เร็วที่สุด และในการทดสอบสมบัติเชิงกลพบว่าการเติมเส้นใยทำให้สมบัติการต้านทานแรงดึงและความต้านทานการฉีกขาดของยางธรรมชาติมีค่าเพิ่มขึ้น
Other Abstract: The objective of this senior project was to study the effects of fibers prepared from Chula zero waste paper cup on the properties of natural rubber composite. Firstly, the fibers were prepared by refining Chula zero waste paper cups with a fruit blender followed by a ball mill. There are two types of fiber including the one without screening and another screened with a 50 mesh sieve. Fiber morphology was analyzed using a fiber quality analyzer (FQA). The result showed that the fiber filtered with a 50 mesh sieve had a higher weight weighted average fiber length, mean curl, and kink index also. Then, pulp slurry from each group was added for the amount of 1 phr and mixed with natural latex to make rubber sheet by a casting method. The rubber sheet without pulp slurry was also prepared to use as a control experiment. Then, the obtained rubber sheets were mixed with rubber additives using an internal mixer and a two roll-mill. Vulcanization properties of the compound were tested using a moving die rheometer (MDR) at 155 C and the composites were vulcanized using a compression molding machine. Mechanical properties of the composites such as tensile strength and tear strength were tested. The results indicated that vulcanization of the composite became better with the addition of unscreened and screened fibers. However, the fastest vulcanization rate was obtained in case of natural rubber composite filled with unscreened fibers. It was also found that adding fibers increased tensile strength and tear strength of natural rubber.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78697
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-IMAGE-003 - Chanamon Boonrod.pdf30.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.