Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78703
Title: ปัญหาของแนวทางการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์
Authors: ปภัสราภรณ์ ใจเฉลียว
Advisors: ทัชมัย ฤกษะสุต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Tashmai.R@chula.ac.th
Subjects: ภาษีสรรพสามิต
มอลต์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของแนวทางการปรับเปลี่ยนพิกัดและการจัดเก็บภาษีสําหรับ เครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการนํามาปรับใช้ในการจัดเก็บภาษีสําหรับเครื่องดื่ม มอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ของประเทศไทยได้ อันเนื่องมาจากกรมสรรพสามิตพิจารณาที่จะเพิ่มพิกัดทางภาษีของ เครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ให้สูงกว่าปกติที่มีพิกัดภาษีอัตราร้อยละ 14 แต่จะไม่ปรับเพิ่มเกินร้อยละ 22 จาก มุมมองว่าเครื่องดื่มมอลต์ไม์มีแอลกอฮอล์นี้อาจเป็นสาเหตุให้เยาวชนหรือผู้บริโภคทั่วไปมีแรงจูงใจในการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเครื่องดื่มประเภทดังกล่าวเสียภาษีในอัตราร้อยละ 14 เช่นเดียวกับกลุ่ม เครื่องดื่มที่ให้ความหวานและเครื่องดื่มประเภทน้ําอัดลม เนื่องจากเครื่องดื่มดังกล่าวไม่มีแอลกอฮอล์ หรือมีแต่ไม่ ถึงร้อยละ 0.5 จึงจัดเป็นประเภทเครื่องดื่มตามคํานิยามตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจะปรับพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ให้เพิ่มขึ้น จะเป็น การขัดแย้งกับคํานิยามตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 อีกทั้งจะส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ถือ เป็นการตัดทางเลือกของผู้บริโภคที่ในปัจจุบันหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การบริโภคเครื่องดื่มมอลต์ไม่มี แอลกอฮอล์จะสามารถทดแทนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้และจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ และช่วยแก้ปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทยให้ลดลงได้ จากการศึกษาผู้เขียนได้นําหลักการของภาษีสรรพสามิตสําหรับเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ของ ประเทศเยอรมนีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นแนวทางแก้ไขการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศ ไทย ซึ่งมีทั้งแนวทางที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ได้และไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ โดยแนวทางที่สามารถนํามา ประยุกต์ใช้ได้ คือ การกําหนดคํานิยามที่ชัดเจนในส่วนของปริมาณแอลกอฮอล์ที่หากมีปริมาณแอลกอฮอล์น้อย กว่าร้อยละ 0.5 ก็จะไม่จัดว่าอยู่ในนิยามของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ต้องจัดเก็บภาษีตามอัตราภาษีของเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ แต่ในทางกลับกันแนวทางที่ไม่สามารถประยุกต้ใช้ได้ คือ การที่เครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ใน ประเทศเยอรมนีไม่ถูกจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในส่วนของประเภทเครื่องดื่ม ซึ่งอาจทําให้เป็นการส่งเสริมให้ ผู้บริโภคบริโภคเครื่องดื่มที่ฟุ่มเฟือย โดยจะขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตที่จะจํากัดการ บริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยทําให้เกิดความยุติธรรมในระบบภาษี จึงไม่สามารถนําหลักการของประเทศเยอรมนีในส่วนนี้ มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์สําหรับประเทศไทยนั้น ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางให้มีการปรับปรุงพัฒนาการจัดเก็บภาษีสําหรับเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์และให้มี มาตรการรองรับเกี่ยวกับเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ คือ ส่วนของพิกัดอัตราภาษีที่หากจะเปิดพิกัดภาษีใหม่ สําหรับเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ํากว่า 0.5 ดีกรีหรือเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์นี้ อาจทําให้มี ผลกระทบต่อสินค้าประเภทอื่น เช่น ยารักษาโรคบางชนิดที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ผสมอยู่ เป็นต้น และส่วนของ นโยบายเพื่อควบคุมเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งควรมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อ กําหนดมาตรการการควบคุมเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ชัดเจน ทั้งในด้านฉลากสินค้า ด้านการโฆษณา และ ด้านการควบคุมการเข้าถึง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและสังคมไทย
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78703
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.169
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.169
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380023534.pdf790.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.