Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78724
Title: การวิเคราะห์ทางเทคนิคและเศรษฐกิจของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากกากกาแฟด้วยเอทิลแอซีเตตภาวะเหนือวิกฤต
Other Titles: Techno-economic analysis of biofuel production from spent coffee grounds with supercritical ethyl acetate
Authors: สุวิทย์ เจริญวิทยะกุล
นิตยา จันทะศิลา
Advisors: สมเกียรติ งามประเสริฐสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กากกาแฟ
เชื้อเพลิงจากของเสียทางการเกษตร
Coffee grounds
Agricultural wastes as fuel
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กาแฟกำลังเป็นที่นิยมในสังคมปัจจุบันและมีแนวโน้มการบริโภคเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณกากกาแฟที่เหลือทิ้งมีปริมาณมากขึ้น เนื่องจากในกากกาแฟมีองค์ประกอบ คาร์โบไฮเดรต ลิกนิน น้ำมันกาแฟ เป็นต้น จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าได้ งานวิจัยนี้ศึกษาการวิเคราะห์ทางเทคนิคและเศรษฐกิจของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากกากกาแฟด้วยเอทิลแอซีเตตภาวะเหนือวิกฤต เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคและเศรษฐกิจในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากกากกาแฟด้วยเอทิลแอซีเตตภาวะเหนือวิกฤตและเพื่อเสนอทางเลือกกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้พบว่าเอทิลแอซีเตตเป็นตัวทำละลายที่เหมาะสม โดยสามารถสกัดน้ำมันจากกากกาแฟได้ในปริมาณสูง (ร้อยละ 22.74 โดยน้ำหนัก) ซึ่งสามารถผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากกากกาแฟด้วยเอทิลแอซีเตตภาวะเหนือวิกฤตในเครื่องปฏิกรณ์แบบต่อเนื่องให้ผลิตภัณฑ์เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีเอทิลเอสเทอร์ของกรดไขมันซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับเมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมันในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลทั่วไป การวิเคราะห์ทางเทคนิคและเศรษฐกิจถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและปรับปรุงด้านเทคนิคของกระบวนการ โดยในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ การจำลองออกแบบกระบวนการผลิตด้วยโปรแกรม Aspen Plus V11 ที่กำลังการผลิตไบโอดีเซล 1,800 และ 30,000 ตันต่อปี และการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ (Economic analysis) พบว่าปริมาณผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซลจากกระบวนการอินเทอร์เอสเทอริฟิเคชันด้วยเอทิลแอซีเตตภาวะเหนือวิกฤตสูงกว่ากระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชันแบบใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในอัตราการป้อนกากกาแฟที่เท่ากัน และกำลังการผลิตไบโอดีเซล 30,000 ตันต่อปี เป็นกำลังการผลิตที่เหมาะสมการวิเคราะห์ความว่องไวต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐศาสตร์พบว่าราคาและปริมาณของไบโอดีเซลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกับมูลค่าสุทธิในปัจจุบัน
Other Abstract: The coffee is becoming popular nowadays. There has been a continuous increase in the amount of consumption led the number of spent coffee grounds (SCGs) has risen. There were valuable compounds remain in SCGs such as carbohydrate, lignin, oil, and several others. Which, they can be utilized and raised values. This research aims to study on the techno-economic analysis (TEA) of biofuel production from SCGs by using supercritical ethyl acetate for analysis of the technical and economical possibility and offering the most effective and appropriate manufacturing alternative process. The studied showed that ethyl acetate was a suitable solvent for coffee oil extraction due to high recovery of extracted coffee oil (22.74% by weight). In the optimum condition for biofuel production from SCGs by using supercritical ethyl acetate in Plug flow Reactor, it was found that biofuel product which is fatty acid ethyl ester (FAEE) had similar properties as biofuel from fatty acid methyl ester (FAME). Furthermore, TEA is an important tool for evaluation the value of economy and technical improvement of process. There are 2 main methods in this research: the simulation and design of manufacturing process by using Aspen Plus V11 program based on the plant biodiesel production capacities of 1,800 and 30,000 tons per year. Next is the economic analysis which found that the amount of biodiesel produced from the supercritical ethyl acetate process was higher than using the Alkali-Catalytic process when controlled in the same input flow rate. The suitable capacity for the process was 30,000 tons/year or more could earn the profit. The amount of biodiesel and selling price were the major effects on the sensitivity of the net present value.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78724
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-CHEMENG-005 - Suwit Charoenvitayakul.pdf40.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.