Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78734
Title: ปัญหาการกำกับดูแลโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ (Non-Fungible Token : NFT) ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
Authors: สุจารี จิตรหัสต์ชัย
Advisors: ณัชพล จิตติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: natchapol.j@chula.ac.th
Subjects: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ซื้อขาย
สินทรัพย์ดิจิทัล
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แนวทางการกับดูแลโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ หรือ Non-Fungible Token (NFT) เป็นประเด็นถกเถียงในกลุ่มผู้ที่ให้ความสนใจด้านเทคโนโลยี เนื่องจากความเห็นของภาครัฐและ เอกชนมีความแตกต่างกัน โดยที่ภาครัฐมีประกาศคําสั่งโดยอาศัยอํานาจ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ห้ามศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ให้บริการซื้อขาย NFT ในขณะที่ทางฝั่งของภาคเอกชนบางส่วนกลับ ไม่เห็นด้วยกับประกาศดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า การห้ามศูนย์ซื้อขายให้บริการ NFT เป็นการปิดกั้น โอกาสของคนไทยในการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถ ดึงดูดนวัตกรรมและการลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศได้ จากการศึกษาแนวทางการกํากับดูแล NFT ในต่างประเทศ สามารถแบ่งกลุ่มแนวทาง การกํากับดูแลได้ 2 แนวทาง คือ (1) กลุ่มประเทศที่มีการปรับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลหรือ กฎหมายใกล้เคียงที่มีอยู่ในการกํากับดูแล NFT และ (2) กลุ่มประเทศที่มีกฎหมายไม่สนับสนุน ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึง NFT โดยแนวทางการกํากับดูแล NFT ของประเทศไทย ก็มีความคล้ายกับกลุ่มประเทศรูปแบบที่ (1) กล่าวคือ ประเทศไทยมีการปรับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ สินทรัพย์ดิจิทัลในการกํากับดูแล NFT ที่เข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ผู้ที่ต้องการซื้อขาย NFT สามารถทําธุรกรรมได้ผ่าน NFT Marketplace ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเฉพาะสําหรับการซื้อขาย NFT โดยหน่วยงานทางการจะพิจารณาลักษณะ NFT ตามประเภทและลักษณะของ NFT ที่ซื้อขายใน NFT Marketplace นั้น ๆ ว่าเข้าข่ายอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า การห้ามให้บริการ NFT ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเป็น แนวทางที่เหมาะสม เพราะ (1) NFT เป็นหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเฉพาะ มีกลไกการให้ ราคาที่ต่างจากสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ และ (2) NFT มีทั้งรูปแบบที่อาจเข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ ดิจิทัลภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ และรูปแบบที่ไม่เข้าข่ายอยู่ภายใต้กฎหมายดังกล่าว จึงควร มีรูปแบบการกํากับดูแลที่แตกต่างจากสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้ (3) จากการศึกษา แนวทางการกํากับดูแลของต่างประเทศยังไม่พบข้อมูลปรากฏว่า มีหน่วยงานกํากับดูแลของประเทศ ใดอนุญาตให้มีการซื้อขาย NFT ในศูนย์ซื้อขายที่มีกฎหมายหรือหน่วยงานทางการกํากับดูแล แต่ต้อง ซื้อขาย NFT Marketplace ข้างต้น การห้ามซื้อขายในศูนย์ซื้อขายของประเทศไทย จึงไม่ได้ขัดกับ แนวทางการกํากับดูแลของประเทศอื่น ๆ อย่างไรก็ตามผู้เขียนมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือหน่วยงานกํากับดูแลควรพิจารณาออก กฎหมายลําดับรองที่มีรายละเอียดชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางในการกํากับดูแล NFT เนื่องจากในปัจจุบัน การใช้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ในการกํากับดูแลยังไม่อาจครอบคลุม NFT ได้ทุกรูปแบบ แต่จะ กํากับดูแลได้เฉพาะ NFT ที่เข้าข่ายอยู่ภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ เท่านั้น ทั้งนี้ ในการออก กฎหมายใหม่ หรือทบทวนแก้ไขกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ NFT หากมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้ ภาคเอกชนสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เต็มที่ รวมถึงมีการนําหลักการทางเศรษฐศาสตร์มา วิเคราะห์ประกอบการออกกฎหมายลําดับรอง น่าจะทําให้สอดรับกับความต้องการของภาคเอกชน มากขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการรับเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78734
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.185
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.185
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380040134.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.