Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78775
Title: การศึกษาผลกระทบของความตกลงเขตการค้าเสรีจีน – อาเซียนต่อมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ในประเทศไทย
Authors: อรฤดา คำเลิศลักษณ์
Advisors: ศักดา ธนิตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: sakda.t@chula.ac.th
Subjects: รถยนต์ไฟฟ้า -- วิจัย
อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากกระแสความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแรงผลักดันของปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์โลกให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีที่ใช้ในการ ขับเคลื่อนยานยนต์จากเครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผา ไหม้ สู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยีมาสู่ยานยนต์ไฟฟ้านี้ จึงส่งกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในฐานะผู้เป็นฐาน การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในรายใหญ่ของโลก ให้ต้องมีการปรับตัว และก้าวให้ทันต่อสถานการณ์และแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างสิ้นเชิงในครั้งนี้ ด้วยเหตุนี้ นโยบายภาครัฐจึงมีส่วนสําคัญในการผลักดันการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรม ยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม สําหรับประเทศไทย จากการศึกษาโดยใช้เครื่องมือ SWOT Analysis พบว่า มาตรการภาษีนําเข้าภายใต้กรอบความตกลง เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน (ACFTA) เป็นอุปสรรคต่อนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยาน ยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ BEV ภายในประเทศ โดยจะมีผลเป็นการลดทอนประสิทธิภาพนโยบายของ ภาครัฐอย่างเป็นสาระสําคัญ กระทบต่อเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่สําคัญในระดับภูมิภาคให้ล่าช้าออกไปหรือมิอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับนโยบายผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ภายในประเทศของประเทศเวียดนามและประเทศอินโดนีเซียพบว่า มีการดําเนินนโยบายที่แตกต่าง ออกไปกล่าวคือ ทั้งประเทศเวียดนามและประเทศอินโดนีเซีย ได้มีมาตรการตั้งกําแพงภาษี (Tariff Barrier) สําหรับการนําเข้ารถยนต์ไฟฟ้าทั้งคัน (CBU) จากประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ภายใต้กรอบ ความตกลง ACFTA และในขณะเดียวกัน ทางภาครัฐก็ได้มีการปรับใช้นโยบายในการส่งเสริม ความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมภายในประเทศควบคู่กันไปอย่างชัดเจน เพื่อมุ่งพัฒนา ข้อได้เปรียบของแต่ละประเทศที่มีอยู่ และผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ ซึ่งนับว่า นโยบายดังกล่าวของภาครัฐนั้นมีความสอดคล้องกับแนวคิดในการปกป้องและส่งเสริม อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ภายในประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้มีการศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและมาตรการของ ต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางปรับใช้ที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทย เพื่อเป้าหมายในการเปลี่ยนผ่านให้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่สําคัญในระดับภูมิภาคได้
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78775
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.165
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.165
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380046034.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.