Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78866
Title: ผลของค่าพีเอชในอาหารเลี้ยงเชื้อต่อการผลิตไมโคสปอริน-2-ไกลซีน ใน Halothece sp. PCC7418
Other Titles: Effect of pH in the medium for mycosporine-2-glycine production in Halothece sp. PCC7418
Authors: วรัมพร บัวแก้ว
Advisors: รุ่งอรุณ วาดิถี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แอนติออกซิแดนท์
ไซยาโนแบคทีเรีย
Antioxidants
Cyanobacteria
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันผู้บริโภคตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เนื่องจากการได้รับรังสียูวีเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายสร้างสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คอลลาเจนในชั้นผิวหนังถูกทำลายและมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่ง Mycosporine like amino acid (MAAs) เป็นสารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิที่มีคุณสมบัติคัดกรองรังสียูวีและเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ มีความสามารถในการดูดซับรังสียูวีในช่วงความยาวคลื่น 310-365 nm. MAAs สามารถ สังเคราะห์ได้จากสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด โดยชนิดของ MAAs ที่พบบ่อยที่สุดคือ Shinorine และ Porphyra-334 แต่ MAAs ที่พบมากที่สุดใน halotolerant microorganism คือ Mycosporine-2-Glycine (M2G) ซึ่งพบว่า M2G มีศักยภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่า MAAs ชนิดอื่น สำหรับไซยาโนแบคทีเรียที่ใช้ในการศึกษานี้ คือ Halothece sp. PCC7418 ซึ่งเป็นเอ็กซ์ทรีโมไฟล์ที่คัดแยกได้จากทะเล เดดซี (Dead sea) สามารถดำรงอยู่ในสภาวะที่มีความเข้มข้นเกลือสูง (Salt stress) ซึ่งเป็นหนึ่งในภาวะเครียดที่เหนี่ยวนำให้เกิดการสร้าง Reactive Oxygen Species (ROS) ขึ้นมา จนเกิดเป็น Oxidative stress ได้นำไปสู่การเพิ่มการสะสม M2G ได้ เนื่องจาก M2G สามารถทำหน้าที่เป็น Osmoprotectant ได้ดีพอกัน กับการทำหน้าที่เป็น Photoprotectant ในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาผลของค่าพีเอชในอาหารเลี้ยง เชื้อต่อการผลิต M2G ในไซยาโนแบคทีเรียทนเค็ม Halothece sp. PCC7418 ภายใต้สภาวะเครียดจากกรดและด่าง ผลการทดลองพบว่าสาร M2G ที่สกัดได้มีปริมาณมากที่สุดเมื่อถูกเหนี่ยวนำภายใต้สภาวะเครียดที่ pH9 แสดงให้เห็นว่านอกจาก M2G จะมีคุณสมบัติเป็นสารคัดกรองรังสียูวีและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระแล้วยังสามารถช่วยรักษาสมดุลภายในเซลล์ของ halotolerant microorganism เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ ทั้งนี้จากผลการทดลองมีศักยภาพในการใช้เพื่อพัฒนาต่อยอดสำหรับการผลิต สาร M2G ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการผลิตปริมาณมากรวมทั้งการใช้เป็นองค์ประกอบในเวชสำอางต่อไป
Other Abstract: Nowadays, the application of sunscreen has gained much attention to reduce the harmful effects of Ultraviolet (UV) irradiation on skin because prolonged exposure to UV radiation can cause photoaging of the skin, destroy collagen structure and induce skin cancer risk. Mycosporine-like amino acids (MAAs) are a group of secondary metabolite, alternative natural UV-absorbing compounds that can absorb UV radiation in the range of 310 to 365 nm. The most common found MAAs are shinorine and porphyra-334; however, mycosporine-2- glycine (M2G) is the most found in halotolerant microorganism. M2G has potential in antioxidant activity and its activity is superior than others. In the present study, we investigated M2G production in Halothece sp. PCC7418, the extremophilic cyanobacterium isolated from Dead sea. This cyanobacterium can grow under salt stress condition and accumulate high M2G. Here, the effect of pH on M2G production was examined. It was clearly observed that at alkaline pH stress (pH9) induced the highest M2G production. The results revealed that M2G has potential to protect cells from extreme environment by absorbance UV and antioxidant activity. In addition, using these bacterial compounds in commercial sunscreens or pharmaceutical industry should be performed in the future.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78866
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-031 - Waramporn Buakaew.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.