Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78888
Title: สมบัติการส่งเสริมการเจริญของพืชและการยับยั้ง Curvularia lunata ที่ก่อโรคเมล็ดด่าง ในข้าวโดยแอนตะโกนิสติกแบคทีเรีย
Other Titles: Plant growth promotion property and inhibition of Curvularia lunata that caused dirty panicle disease of rice by antagonistic bacteria
Authors: กุลจิรา จันแดง
Advisors: ปาหนัน เริงสำราญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ข้าว -- โรคและศัตรูพืช -- การควบคุม
เชื้อราในการเกษตร
Rice -- Diseases and pests -- Control
Fungi in agriculture
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคเมล็ดด่าง (dirty panicle disease) ในข้าวส่งผลทำให้ผลผลิตเสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งมี สาเหตุจากราหลายชนิด วิธีควบคุมโรคเมล็ดด่างในข้าวด้วยสารเคมีส่งผลกระทบต่อร่างกายและ สิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีควบคุมโรคพืชด้วยวิธีการทางชีวภาพโดยใช้แอนตะโกนิสติก แบคทีเรียที่ไม่ก่อโรค ส่งเสริมการเจริญของพืช และยับยั้งราก่อโรคได้ โดยงานวิจัยประกอบด้วยการคัด แยกราก่อโรค, การทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งรา และสมบัติในการส่งเสริมการเจริญของพืชโดย แบคทีเรีย จากการคัดแยกราก่อโรคจากตัวอย่างเมล็ดข้าวที่เป็นโรคเมล็ดด่าง แล้วนำมาตรวจสอบ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา สามารถสรุปเบื้องต้นได้ว่าเป็น Curvularia lunata ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเมล็ด ด่าง การทดสอบการยับยั้งโดยเทคนิคเลี้ยงแบคทีเรียร่วมกับราบนอาหารแข็ง พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ M25 MSCU 0242 สามารถยับยั้ง C. lunata ได้ดีที่สุด โดยสามารถยับยั้งได้ 66.67% การทดสอบการ ยับยั้งราด้วยเมแทบอไลต์ที่หลั่งออกนอกเซลล์แบคทีเรียและการยับยั้งราด้วยสารระเหยของแบคทีเรีย พบว่าแบคทีเรีย M25 MSCU 0242 สามารถยับยั้ง C. lunata ได้ 100% และ 52.94% ตามลำดับ การ ยับยั้งราด้วยไฮโดรไลซิสเอนไซม์ของแบคทีเรีย พบว่าแบคทีเรีย M25 MSCU 0242 สามารถผลิตไลเปส และโปรตีเอสได้ แต่ผลิตเซลลูเลสไม่ได้ การทดสอบสมบัติการส่งเสริมการเจริญของพืช พบว่าแบคทีเรีย M25 MSCU 0242 มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน แต่ไม่ผลิต Indole-3-Acetic Acid (IAA) และไม่ มีความสามารถในการละลายฟอสเฟต การทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งราก่อโรคเมล็ดด่างในข้าว พบว่า แบคทีเรีย M25 MSCU 0242 มีความสามารถในการรักษา ป้องกัน และยับยั้งโรคเมล็ดด่างในข้าว ได้ ดังนั้นแบคทีเรียสายพันธุ์ M25 MSCU 0242 จึงมีศักยภาพในการใช้เป็นเชื้อควบคุมทางชีวภาพเพื่อ ยับยั้งการเกิดโรคเมล็ดด่างที่เกิดจาก C. lunata และช่วยตรึงไนโตรเจนให้กับข้าวได้
Other Abstract: Dirty panicle disease is the most significant factor limiting production of rice. It caused by several fungal phytopathogens results in damage of rice seeds. Controlling dirty panicle disease by synthetic chemical fungicides cause adverse impact on human health and public concern regarding environmental issues. This work proposed to use biological control method using antagonistic bacteria that is safe, able to promote plant growth, and can inhibit the fungal pathogen. The work composed of isolation of fungal pathogen, and determination of antifungal and plant growth promotion abilities by antagonistic bacteria. Isolation of fungal pathogen from rice with dirty panicle symptom, and then examination the basic morphology preliminary identified the fungus as Curvularia lunata. Dual culture method revealed that bacteria M25 MSCU 0242 exhibited potent in vitro inhibitory activity on mycelial growth against C. lunata at 66.67%. Fungal inhibition using extracellular metabolites and volatile compounds of bacteria showed that the pathogen growth inhibition was ranging from 100% and 52.94%, respectively. Bacteria M25 MSCU 0242 was able to produce lipase and protease, but not cellulase. The bacteria also showed ability to fix atmosphere nitrogen, but not ability to produce Indole-3- Acetic Acid (IAA) or to solubilize phosphate. By testing efficacy of bacteria strain M25 MSCU 0242 on rice seeds, the results demonstrated that the bacteria was able to treat, prevent, and inhibit dirty panicle disease on rice seeds. These results indicated that bacteria strain M25 MSCU 0242 has potential to be used as biological control agent to combat dirty panicle disease of rice caused by C. lunata and to assist nitrogen fixation for rice plant.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78888
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MICRO-003 - Kuljira Chandang.pdf30.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.