Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78896
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพดล กิตนะ | - |
dc.contributor.author | ธนกฤต นรสิงห์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-06-22T01:47:47Z | - |
dc.date.available | 2022-06-22T01:47:47Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78896 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 | en_US |
dc.description.abstract | พื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีการทำเกษตรอย่างกว้างขวางและมีรายงานการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร เช่น สารกำจัดศัตรูพืช สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมี ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนโลหะหนักและส่งผลต่อและสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ โดยสิ่งมีชีวิตที่อาจได้รับผลกระทบคือ เต่านา Malayemys macrocephala เนื่องจากมีแหล่งอาศัยและวางไข่ขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่เกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาครั้งนี้จึงเลือกเต่านาเป็นสิ่งมีชีวิตเฝ้าระวังและเลือกใช้ไข่ในการศึกษาการปนเปื้อนโลหะหนักในเปลือกไข่เนื่องจากโลหะหนักสามารถถ่ายทอดจากแม่เต่าสู่ไข่เต่าและยังมีโอกาสสะสมในเปลือกไข่ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัณฐานวิทยาและธาตุองค์ประกอบของเปลือกไข่เต่านาในพื้นที่เกษตร โดยการนำตัวอย่างไข่เต่านาจากตลาดท้องถิ่นในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาชั่งน้ำหนักและวัดขนาดก่อนแยกไข่ออกมา จากนั้นทำความสะอาดเปลือกไข่ และรักษาสภาพในสารละลายฟอร์มาลิน 10% เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วเก็บในเอทานอล 70% นำตัวอย่างไปทำให้แห้ง และเก็บในโหลดูดความชื้นก่อนนำไปวิเคราะห์สัณฐานวิทยาและธาตุองค์ประกอบโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) และอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณเอ็กซ์เรย์ (energy dispersive X-ray หรือ EDX) เพื่อแยกแยะสัญญาณของธาตุที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาสัณฐานวิทยาพบโครงสร้าง 2 ชั้น ได้แก่ 1) ชั้น calcareous ซึ่งพบ shell unit ที่มีผลึกลักษณะคล้ายเข็มและรัศมีชี้ออกจากจุดศูนย์กลางและมีรูแทรกระหว่าง shell unit และ 2) ชั้น shell membrane เป็นเส้นใยที่สานทับกันอย่างไม่เป็นระเบียบ โดยที่ shell unit พบผลึกแคลเซียมคาร์บอเนตทั้งในรูป aragonite และ calcite ผลการตรวจสอบธาตุองค์ประกอบพบธาตุ O, C, Ca, N, P, S, Cl, Na, Al, K, Mg และ Si โดยพบสัดส่วนของธาตุ O, C และ Ca สูงกว่าธาตุ อื่น ๆ สอดคล้องกับลักษณะสัณฐานวิทยาที่พบการสะสมผลึก CaCO₃ ในชั้น calcareous แต่ไม่พบธาตุจำพวกโลหะหนักในเปลือกไข่เต่านาจากพื้นที่เกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการศึกษาที่ได้ทำให้เข้าใจถึงสัณฐานวิทยาและธาตุองค์ประกอบของเปลือกไข่เต่านาซึ่งสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อติดตามแนวโน้มการปนเปื้อนโลหะหนักในพื้นที่เกษตรในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | Central plain of Thailand is an area with intensive agricultural activity. Use of agrochemicals such as pesticides, herbicides and chemical fertilizers in this area could lead to heavy metal contamination and adverse effect on organisms in ecosystem. The snail-eating turtle, Malayemys macrocephala, is one of the organisms that may be affected by such activities since their habitat and nesting site locate in agricultural area at Pha Nakhon Si Ayutthaya province. In this study, M. macrocephala was selected as a sentinel animals and theirs eggshell was used as a sample for studying heavy metal contamination since the contamination may transfer from maternal tissues to egg component, including the eggshell. Objective of this research is to examine an ultrastructure and elemental component of eggshell of M. macrocephala. Turtle eggs were purchased from a local market at Bang Ban District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. After cleaning, weighing, measuring and separating egg content, eggshell samples were rinsed, fixed in 10% formalin solution for 24 hours and stored in 70% ethanol. Before analysis, the samples were air-dried and stored in desiccator. Morphology and elemental component were analyzed using scanning electron microscope (SEM) equipped with has an X-ray detector (energy dispersive X-ray or EDX) for differentiating elemental components. The result on eggshell morphology showed that eggshells composed of two layers including, 1) calcareous layer with well-distinguished shell units where needle-like crystallites radiating outwards from the core, and sporadically distributed of pores, and 2) shell membrane consisted of rough fibers weaved disorderly. Shell unit in the calcareous layer consisted of calcium carbonate in form of aragonite and calcite crystals. The results on elemental analysis showed that O, C, Ca, N, P, S, Cl, Na, K, Mg and Si were detected, with O C and Ca being the major constituent. This correlates with result on morphology that shell unit composed of CaCO₃ crystal. However, heavy metal was not detected in the eggshell of turtle in this study. The results on morphology and elemental component of turtle eggshell could be further used as a baseline for monitoring heavy metal contamination in agricultural areas in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เต่านา -- ผลกระทบจากยากำจัดศัตรูพืช | en_US |
dc.subject | เต่านา -- ไข่ -- ปริมาณโลหะหนัก | en_US |
dc.subject | ยากำจัดศัตรูพืช -- แง่สิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.subject | Snail-eating turtle -- Effect of pesticides on | en_US |
dc.subject | Snail-eating turtle -- Eggs -- Heavy metal content | en_US |
dc.subject | Pesticides -- Environmental aspects | en_US |
dc.title | โครงสร้างระดับจุลภาคและธาตุองค์ประกอบของเปลือกไข่เต่านา Malayemys macrocephala ในพื้นที่เกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | en_US |
dc.title.alternative | Ultrastructure and elemental component of eggshell of Malayemys macrocephala in agricultural area at Phra Nakhon Si Ayutthaya Province | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-BIO-008 - Thanakrit Norasing.pdf | 20.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.