Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78917
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เอกวัล ลือพร้อมชัย | - |
dc.contributor.author | กวิสรา ไชยศรีรัมย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-06-23T02:25:24Z | - |
dc.date.available | 2022-06-23T02:25:24Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78917 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต จุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 | en_US |
dc.description.abstract | ปัจจุบันการมีการใช้งานพลาสติกในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง พลาสติก Polybutylene succinate (PBS) ชนิด BioPBS เป็นพลาสติกชีวภาพที่ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบธรรมชาติจึงสามารถย่อยสลายได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในงานวิจัยนี้สนใจใช้ประโยชน์ของกระดาษเคลือบ BioPBS ที่มาจากแก้ว เครื่องดื่มใช้แล้ว เป็นวัสดุตรึงแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญของพืช (Plant growth promoting bacteria) ที่ ประกอบด้วย Bacillus thuringiensis B2, Bacillus stratosphericus L19 และ Bacillus altitudinis T17 ผลการศึกษาใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด พบว่าลักษณะพื้นผิวของกระดาษเคลือบ BioPBS เรียงตัวเป็นเส้นใยอัดแน่นและผิวขรุขระซึ่งง่ายต่อการยึดเกาะของแบคทีเรีย และเมื่อนำหัวเชื้อแบคทีเรียผสม ตรึงบนกระดาษเคลือบ BioPBS ด้วยวิธีการบ่มแบบเขย่าเป็นเวลา 2 วัน พบว่ามีปริมาณแบคทีเรียบนวัสดุตรึง 10⁸ – 10⁹ CFU ต่อกรัมวัสดุตรึง โดยการเขย่าทำให้วัสดุตรึงกระจายตัวและเส้นใยบนพื้นผิวของวัสดุตรึงเกิด การคลายตัว ส่งผลให้แบคทีเรียสามารถเข้าไปอยู่ในช่องว่างภายในวัสดุตรึงได้ นอกจากนั้นเมื่อทดสอบการอยู่ รอดของแบคทีเรียบนวัสดุตรึงในขวดทดลองปิดสนิท ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าแบคทีเรียบน BioPBS สามารถอยู่รอดได้ถึง 97% เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณแบคทีเรียเริ่มต้น ในขณะที่ชุดควบคุม คือ พลาสติก PLA มีปริมาณเชื้ออยู่รอดได้เพียง 79% เท่านั้น การติดตามการย่อยสลายของวัสดุตรึงทั้ง BioPBS และ PLA ในดินตัวอย่าง ในสภาวะอุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 30 วัน พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน คาดว่าเนื่องจากดินมีความชื้นต่ำและโดนแสงแดดจัด ในเบื้องต้นจึงสรุปได้ว่าสามารถใช้กระดาษเคลือบ BioPBS เป็นวัสดุตรึงสำหรับแบคทีเรียในกลุ่ม PGPB และสามารถเก็บรักษาในรูปแห้งเพื่อใช้ประโยชน์ทาง การเกษตรต่อไป โดยแผนงานต่อไปจะนำแบคทีเรียบนวัสดุตรึง BioPBS ไปทดสอบประสิทธิภาพในการ ส่งเสริมการเจริญของต้นอ้อยในสภาวะแล้ง โดยจะเก็บผลการทดลองความยาวใบ ลำต้น และราก พร้อมทั้ง ตรวจติดตามปริมาณเชื้อแบคทีเรียทนแล้งบริเวณราก | en_US |
dc.description.abstractalternative | Plastics are extensively used in our everyday life. Polybutylene succinate (PBS) or BioPBS is a plastic derived from agricultural raw materials and can be degraded under natural environment. This research aimed to use BioPBS coated paper from the used drinking cups as carrier material to immobilize plant growth promoting bacteria (Bacillus thuringiensis B2, Bacillus stratosphericus L19 and Bacillus altitudinis T17). The characteristics under Scanning Electron Microscope (SEM) showed the surface of BioPBS coated paper was packed with fiber, of which its porosity allowed bacterial cells to attach on the surface and inside the carrier. After incubation for 2 days, the number of immobilized cells was 10⁸ – 10⁹ CFU/g carrier. Moreover, bacteria survival rate in BioPBS carriers after 8 weeks was 97% compared with the initial, meanwhile the bacterial survival rate on the controlled PLA was 79%. The degradation of BioPBS and PLA with immobilized cells were not detected in soil sample after 30 days. This was probably due to the low humidity and intense sunlight in soil. It was preliminary concluded that BioPBS coated paper could be applied as carrier for plant growth promoting bacteria and the immobilized cells could be stored for agricultural purposes. Further study will investigate the effect of bioPBS immobilized cells on promoting sugarcane growth under drought stress. The experiment will monitor the length of leaves, stalks and roots. In addition, the numbers of rhizosphere bacteria will be investigated. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พลาสติกชีวภาพ | en_US |
dc.subject | โพลิบิวทีน | en_US |
dc.subject | แบคทีเรีย | en_US |
dc.subject | Polybutenes | en_US |
dc.subject | Bacteria | en_US |
dc.title | การประยุกต์ใช้ขยะกระดาษเคลือบพลาสติกชนิดพอลิบิวทิลียซัคซิเนต สำหรับตรึงแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญของอ้อย | en_US |
dc.title.alternative | Utilization of Polybutylene succinate coated paper waste for immobilizing sugarcane growth promoting bacteria | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-MICRO-002 - Kawisara Chaisrirum.pdf | 30.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.