Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78931
Title: | การศึกษาตัวดูดซับ 2,4-dichlorophenoxyacetic acid และพาราควอต |
Other Titles: | Study of adsorbents for 2,4-dichlorophenoxyacetic acid and paraquat |
Authors: | สิรินดา หอมทอง |
Advisors: | ลักษณา ดูบาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | กรดไดคลอโรฟีน็อกซีอะซีติก พาราควอท การดูดซับทางเคมี Dichlorophenoxyacetic acid Paraquat Chemisorption |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติกและพาราควอตเป็นสารกำจัดวัชพืชซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลาย และมีการตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม ในการตรวจวิเคราะห์สารทั้งสองชนิดนี้ขั้นตอนการเพิ่มความเข้มข้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยตัวดูดซับชนิดของแข็งเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับสารกำจัดวัชพืชทั้ง 2 ชนิด ในการศึกษานี้ ตัวดูดซับ สำหรับกรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติก คือ พอลิเมอร์การลอกแบบโมเลกุลที่สังเคราะห์โดยใช้ไคโตซาน และ กลูตาราลดีไฮด์เป็นตัวเชื่อมขวางตัวดูดซับ โดยศึกษาอัตราส่วนโดยโมลระหว่าง ไคโตซาน, กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติก และกลูตาราลดีไฮด์ เท่ากับ 1×10⁻⁷:1:104, 1×10⁻⁷:1:156, 1×10⁻⁷:1:52 และ 1×10⁻⁷:1:78 ซึ่งจากผลการทดอลงพบว่า อัตราส่วนเหล่านี้ไม่เหมาะสม เพราะให้ประสิทธิภาพเหมือนกับพอลิเมอร์ที่ไม่มีแบบโมเลกุล (Non-molecularly Imprinted Polymer: NIP) และ ในงานวิจัยนี้ พอลิเมอร์ชนิดคาร์บอนที่มีรูพรุนสังเคราะห์จากเมลามีน ถูกใช้เป็นตัวดูดซับพาราควอต โดยศึกษาผลของการกระตุ้นตัวดูดซับด้วย กรดฟอสฟอริก, กรดไฮโดรคลอริก และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ต่อประสิทธิภาพในการดูดซับพอลิเมอร์ชนิดคาร์บอนที่มีรูพรุนสังเคราะห์จากเมลามีน จากการวัดปริมาณพาราควอตซึ่งอยู่ในของเหลวที่กรองได้ ไม่พบพาราควอตในของเหลวที่กรองได้หลังจากการแช่พอลิเมอร์ชนิดคาร์บอนที่มีรูพรุนสังเคราะห์จากเมลามีน ทั้งที่กระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 1 และ 10 โมลาร์ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งอาจเป็นเพราะ พอลิเมอร์ชนิดคาร์บอนที่มีรูพรุนสังเคราะห์จากเมลามีนที่ถูกกระตุ้นด้วยโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ สามารถดูดซับพาราควอตได้หมด หรือ พาราควอตเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส อีกทั้งการศึกษาความเสถียรของพาราควอตในภาวะด่าง พบว่าภายในเวลา 1 ชั่วโมง สารละลายที่มี pH มากกว่า 9 ไม่ส่งผลต่อการสลายตัวของพาราควอต |
Other Abstract: | 2,4-dichlorophenoxyacetic acid and paraquart are the herbicides widely used and their residues in the environment were found. In the analysis of these two substances, the pre-concentration step is necessary. Solid adsorbents are the most effective preconcentration method for both herbicides. For adsorbent of 2,4-dichlorophenoxyacetic acid, the molecularly imprinted polymer (MIP) prepared from chitosan and glutaraldehyde was studied. The mole ratio of chitosan, 2,4-dichlorophenoxyacetic acid and glutaraldehyde used in this study are 1×10⁻⁷:1:104, 1×10⁻⁷:1:156, 1×10⁻⁷:1:52 and 1×10⁻⁷:1:78. Unfortunately, these ratios are not suitable because they gave the same adsorption efficiency as non- molecularly imprinted polymers (NIP). Carbon nanoporous melamine based polybenzoxazine (MNP-c) was used in this study as the paraquat adsorbent. To enhance the adsorption efficiency of this material, the Carbon nanoporous melamine based polybenzoxazine (MNP-c) was activated using H₃PO₄, HCl and KOH. By measuring the paraquat content in the filtrate, paraquat was not found in the filtrate after 24 hour of soaking MNP-c in both 1 and 10 M NaOH. This observation might be that the MNP-c activated by KOH could completely adsorb paraquat or paraquat underwent the hydrolysis reaction. The stability of paraquat in the basic condition was also investigated. It was found that within 1 hour the solutions with a pH above 9 did not cause the decomposition of paraquat. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78931 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-CHEM-047 - Sirinda Homthong.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.