Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78954
Title: | การกระตุ้นด้วยไอน้ำเสริมด้วยการใช้อัลคาไลน์ของถ่านไม้ไผ่ |
Other Titles: | Alkaline Assisted Steam Activation of Bamboo Char Coal |
Authors: | วริศรา ระตะเจริญ |
Advisors: | ประพันธ์ คูชลธารา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | คาร์บอนกัมมันต์ -- การผลิต ไผ่ Carbon, Activated -- Production Bamboo |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันถ่านกัมมันต์จากไม้ไผ่ได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายทั้งในด้านอุตสาหกรรมและด้านครัวเรือน เพราะต้นไผ่เป็นพืชที่ได้รับความนิยมในการปลูกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากไผ่สามารถนำมาแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าได้มากมาย อีกทั้งยังเหมาะกับการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตถ่านกัมมันต์ที่มีคุณภาพสูง และปราศจากสารตกค้าง ซึ่งช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาวะที่ เหมาะสมในการผลิตถ่านกัมมันต์จากไม้ไผ่ผ่านกระบวนการกระตุ้นด้วยไอน้ำ โดยใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (Potassium hydroxide, KOH) เป็นตัวช่วยในการกระตุ้น อีกทั้งยังปรับปรุงให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับถ่านกัมมันต์ เกรดการค้าที่ผลิตจากการกระตุ้นทางเคมี โดยศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการกระตุ้นที่มีต่อประสิทธิภาพของ ถ่านกัมมันต์ทั้งหมด 3 ค่า ได้แก่ 650, 700 และ 850 องศาเซลเซียส พบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้ใน การกระตุ้นของถ่านกัมมันต์จากไม้ไผ่คือ 850 องศาเซลเซียส โดยมีค่าการดูดซับไอโอดีนสูงถึง 889.05 มิลลิกรัมต่อกรัม และมีค่าพื้นที่ผิว BET 807.98 ตารางเมตรต่อกรัม นอกจากนี้ยังศึกษาผลของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่ อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส ทั้งสิ้น 3 ค่า ได้แก่ ความเข้มข้นร้อยละ 0.04, 0.06 และ 0.08 โดยน้ำหนัก พบว่า การเพิ่มความเข้มข้นของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ทำให้ถ่านกัมมันต์ที่ได้มีความสามารถในการดูดซับที่ดีขึ้น ผลลัพธ์ดังกล่าวสามารถแสดงถึงความเป็นไปได้ในการนำไม้ไผ่มาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตถ่านกัมมันต์ด้วย วิธีการกระตุ้นด้วยไอน้ำร่วมกับการใช้สารเคมี เพื่อลดต้นทุนในการผลิต อีกทั้งยังส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ วัตถุดิบท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน |
Other Abstract: | Nowadays, activated carbon (AC) is widely available in industrial and residential use; however, the production cost of AC is still expensive. One possible way to lower the production cost is to find a new substance which is more economical. Bamboos are extremely popular plants, due to the capability to transform into value-added goods. They are also suitable for being used as a substance to produce the high-quality AC. Therefore, the aim of this research is to find the optimum conditions for the AC production using the bamboos through the steam activation assisted by potassium hydroxide (KOH). The AC from bamboo could be improved to have as high performance as the conventional AC, which is made from the palm shell. This research investigated the effects of the activation temperatures, which are at 650, 700 and 850°C, on the performance of the AC. The results show that the highest iodine number of 889.05 mg/g and BET surface area of 807.98 m²/g were obtained when using the activation temperature of 850°C. It can be also observed that the iodine number of the bamboo AC is comparable to that of the conventional AC. In addition, the increase in the KOH concentrations of 0.04, 0.06 and 0.08 wt% in KOH-assisted steam activation at 850°C was found to enhance the adsorption capability of the AC. These results imply the possibility in the use of bamboo as a substance for the AC production by KOH-assisted steam activation. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78954 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-CHEMENG-009 - Warissara Ratacharoen.pdf | 31.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.