Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78988
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศศิธร พ่วงปาน-
dc.contributor.authorอุสมาน นิลสอาด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-27T03:24:26Z-
dc.date.available2022-06-27T03:24:26Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78988-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต อ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563en_US
dc.description.abstractปัจจุบันป่าชายเลนมีพื้นที่ลดลง การปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนจึงมีความสำคัญและได้รับความสนใจมากขึ้น แต่การปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนโดยทั่วไปนั้นไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากกล้าไม้มีอัตราการรอดตายต่ำ การศึกษานี้ ได้ทำการศึกษาอัตราการรอดตายและการเติบโตของกล้าไม้ป่าชายเลนที่ใช้ในการปลูกฟื้นฟู จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) โกงกางใบเล็ก (R. apiculata) แสมขาว (Avicennia alba) และลำพู (Sonneratia caseolaris) จากแปลงปลูกแบบผสมชนิด (Mix1 และ Mix2) เทียบกับแปลงปลูกโกงกาง ชนิดเดียว (R1) บนหาดเลนงอกใหม่ ณ สถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า อัตราการรอดตาย ของกล้าไม้ทั้งหมดในแปลงปลูกกล้าไม้แบบผสมชนิดสูงกว่าในแปลงปลูกกล้าไม้โกงกางเพียงชนิดเดียว (R1) โดย ที่อัตราการรอดตายเฉลี่ยเมื่อสิ้นสุดการศึกษา (6 เดือน) มีค่าเท่ากับ 60.4%, 93.9% และ 100% สำหรับแปลง R1, Mix1 และ Mix2 ตามลำดับ ความสูงเฉลี่ยของกล้าไม้แสมขาวในแปลง Mix1 และ Mix2 มีค่าสูงกว่าใน แปลง R1 ผลการศึกษาความหนาแน่นของดินพบว่าบริเวณหาดเลนโล่ง (Mudflat) ที่ไม่มีการปลูกกล้าไม้และใน แปลง R1 มีความหนาแน่นของดินน้อยกว่าในแปลงปลูกแบบผสมชนิดทั้ง 2 แปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สัดส่วนการกระจายตัวของอนุภาคทรายแป้งและดินเหนียวมีความแตกต่างระหว่างช่วงก่อนและสิ้นสุดการศึกษา โดยในแปลง Mix2 เท่านั้นที่มีลักษณะเนื้อดินเปลี่ยนแปลงจากดินร่วนปนตะกอนเป็นดินตะกอนซึ่งสอดคล้องกับ การเพิ่มขึ้นของระดับความสูงของพื้นที่ กล่าวคือในแปลง R1, Mix1 และ Mix2 มีระดับความสูงของพื้นที่เพิ่มขึ้น มาก เนื่องจากเกิดการทับถมของตะกอนมากกว่าบริเวณหาดเลนโล่ง จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการปลูก ฟื้นฟูป่าชายเลนโดยใช้วิธีการปลูกกล้าไม้แบบผสมชนิดโดยมีต้นแสมขาวรวมอยู่ด้วยนั้นส่งผลดีต่ออัตราการรอด ตายและการเติบโตของกล้าไม้มากกว่าการปลูกใช้ต้นโกงกางเพียงชนิดเดียว เนื่องจากต้นแสมขาวมีคุณลักษณะ ในการเป็นพืชเบิกนำที่ยึดครองพื้นที่โล่งได้ดีและมีอัตราการเติบโตเร็ว อีกทั้งยังส่งผลเชิงบวกต่อลักษณะทางกายภาพของดินในบริเวณแปลงปลูกอีกด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeCurrently, the mangrove forest area has been depleted. Mangrove rehabilitation becomes an important issue. However, most mangrove rehabilitation failed to achieve the goals due to the low survival rates of mangrove seedlings. This study investigated the survival and growth rates of four species of mangrove seedlings including Rhizophora mucronata, R. apiculata , Avicennia alba , and Sonneratia caseolaris in the mixed-species plantations (Mix1 and Mix2) in comparison with Rhizophora plantation (R1) locating on a new mudflat at Bang Pu recreation area, Samut Prakarn Province. The results showed that the survival rates of seedlings in the mixed-species plantations (Mix1 and Mix2) were higher than that of Rhizophora plantation (R1) The survival rates at the end of the study (6 months) were 60.4%, 93.9% and 100%, and for R1, Mix1 and Mix2 , respectively. The seedling density that gave high survival rate in R1plot was larger than that of Mix1 and Mix2 plot. The height of A. alba seedlings in Mix1 and Mix2 plots was higher than that of R1 plot. The soil bulk density of the mudflat and R1 plots was significantly higher that of Mix1 and Mix2 plots. Furthermore, the soil particle distribution showed differences in silt and clay particles between the beginning and the end of this study. While the soil texture in the Mix2 plot changed from silt loam to silt. The increasing elevation in the plantation plots (R1, Mix1, and Mix2) was greater than that of the mudflat. In a conclusion, mangrove rehabilitation by the mixed-species plantation consisting of A. alba tended to increase the survival and growth rates of mangrove seedlings compared to pure Rhizophora plantation according to that A. alba is a fast-growing pioneer species growing well on the mudflat. It also had a positive effect on the physical characteristics of the soil in the plantations.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectป่าชายเลน -- ไทย -- บางปู (สมุทรปราการ)en_US
dc.subjectต้นไม้ -- กล้าen_US
dc.subjectการปลูกต้นไม้en_US
dc.subjectMangrove forest -- Thailand -- Bang Pu (Samut Prakarn)en_US
dc.subjectTrees -- Seedlingsen_US
dc.subjectTree plantingen_US
dc.titleอัตราการรอดตายและการเติบโตของกล้าไม้ป่าชายเลนในแปลงปลูกแบบผสมชนิด บนหาดเลนงอกใหม่ สถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการen_US
dc.title.alternativeSurvival and growth rates of mangrove seedlings in mixed species plantations on new mudflat, Bang Pu recreation area, Samut Prakarn Provinceen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-BOT-007 - Ussman Nilsa-ad.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.