Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79108
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนุภาพ สมบูรณ์สวัสดี-
dc.contributor.authorธัญพิชชา ยอดแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี-
dc.date.accessioned2022-07-01T04:17:26Z-
dc.date.available2022-07-01T04:17:26Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79108-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอย สำหรับข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล ที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบสุ่มที่มีการแจกแจงแบบเบตา ด้วยวิธีการประมาณค่าแบบกำลังสองต่ำสุด (OLS) วิธีของแชตเทอร์จีและแมคลีช (CM) วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนวิธีอีเอ็ม (MLE_EM) วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนอีเอ็ม เมื่อมีการปรับค่าข้อมูลก่อนคำนวณด้วยค่าเฉลี่ย (MLE_EM_MEAN) และวิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนอีเอ็ม เมื่อมีการปรับค่าข้อมูลก่อนคำนวณด้วยค่ามัธยฐาน (MLE_EM_MED) เปรียบเทียบจากค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ของค่าเฉลี่ยของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสอง โดยจำลองข้อมูลทั้งหมด 2187 สถานการณ์ จากการศึกษาพบว่า 1) เมื่อข้อมูลมีขนาดเล็กหรือปานกลาง (n=30,50) และมีเปอร์เซ็นต์ในการถูกตัดปลายทางขวาน้อย (r1=10) วิธี OLS และ CM เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แตกต่างกันตามลักษณะการกระจายตัวของตัวแปรอิสระและความคลาดเคลื่อน 2) วิธีในกลุ่ม MLE_EM มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อตัวอย่างขนาดปานกลาง (n=50) ถูกตัดปลายทางขวาปานกลางหรือมาก (r1=20,30) และตัวอย่างขนาดใหญ่ (n=100) โดยแบ่งตามช่วงการเข้ามาของข้อมูล เมื่อข้อมูลเข้ามาในช่วงต้นของการเปิดรับ วิธี MLE_EM_MED มีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่เมื่อข้อมูลเข้ามาในช่วงกลางของการเปิดรับ วิธีในกลุ่ม MLE_EM จะมีประสิทธิภาพสูงสุด และเมื่อข้อมูลเข้ามาในช่วงท้ายของการเปิดรับ วิธี MLE_EM และ MLE_EM_MEAN เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 3) ทุกวิธีมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือข้อมูลถูกตัดปลายทางขวาน้อยลง หรือสัดส่วนของช่วงเวลาที่เปิดรับข้อมูลเข้ามาเพื่อศึกษาต่อช่วงเวลาที่ศึกษาข้อมูลลดลง หรือความคลาดเคลื่อนกระจายตัวน้อยกว่าตัวแปรอิสระ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to compare the estimation methods of linear regression model for data from lognormal distribution under random right-censoring from beta distribution which are Ordinary Least Squares Method (OLS), Chatterjee and McLeish Method (CM), Maximum Likelihood Estimation using the EM algorithm Method (MLE_EM), Maximum Likelihood Estimation Method using the EM algorithm with mean-adjusted data (MLE_EM_MEAN), and Maximum Likelihood Estimation Method using the EM algorithm with median-adjusted data (MLE_EM_MED) by generating data 2187 scenarios. The results present that 1) OLS and CM are the most efficient methods if the sample size is small or moderate (n=30,50) with small censoring proportion (r1=10) varies by ratio of variance of independent variables to variance of error. 2) If the sample size is moderate (n=50) with moderate or large censoring proportion (r1=20,30) or large (n=100) the most efficient methods are separated by timing of data collecting point. When data is collected in early, middle, and end of time, the most efficient method is MLE_EM_MED, MLE_EM family, and MLE_EM and MLE_EM_MEAN, respectively. 3) The efficiency of all methods increases when sample size, random censoring ratio, ratio of variance of independent variables to variance of error increases or censoring proportion decreases.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1056-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการวิเคราะห์การถดถอย-
dc.subjectทฤษฎีการประมาณค่า (สถิติ)-
dc.subjectRegression analysis-
dc.subjectEstimation theory-
dc.subject.classificationMathematics-
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอย สำหรับข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล ที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบสุ่มที่มีการแจกแจงแบบเบตา-
dc.title.alternativeA comparative study on estimation from regression model for data from lognormal distribution under random right-censoring from beta distribution-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสถิติ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.1056-
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6181528126.pdf30.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.