Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79354
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช | - |
dc.contributor.advisor | ประพิมพา จรัลรัตนกุล | - |
dc.contributor.author | นลิน มนัสไพบูลย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-23T03:11:10Z | - |
dc.date.available | 2022-07-23T03:11:10Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79354 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเพียรกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ โดยแยกเป็น 2 การศึกษา ใช้สถิติถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้นในการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาที่ 1 ศึกษาอิทธิพลกำกับของรูปแบบองค์การ (เปรียบเทียบระหว่างองค์การสัญชาติไทยและองค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย) โดยเก็บแบบสอบถามจากพนักงานชาวไทยจากองค์การสัญชาติไทยจำนวน 63 คน จากองค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยจำนวน 68 คน รวม 131 คน ผลพบว่า ความเพียรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ (β = .24, p < .01, f2 = .05) รูปแบบองค์การไม่ได้มีอิทธิพลกำกับต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว ส่วนการศึกษาที่ 2 ศึกษาอิทธิพลกำกับความฉลาดทางวัฒนธรรมโดยเก็บแบบสอบถามจากพนักงานชาวไทยในองค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยจำนวน 183 คน ผลพบว่า ความเพียรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ (β = .23, p < .01, f2 = .08) โดยความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรมเท่านั้นที่มีอิทธิพลทางบวกต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว (β = .24, p < .01, f2 = .04) ทั้งองค์การสัญชาติไทยและองค์การสัญชาติญี่ปุ่นจึงควรสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ช่วยพัฒนาความเพียรของบุคลากร เพื่อให้พนักงานเกิดการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ องค์การสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยควรรับสมัครผู้ที่มีความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรมในระดับสูงเข้ามาทำงาน รวมถึงจัดฝึกอบรมเพื่อช่วยพัฒนาความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรมให้แก่พนักงาน สร้างแรงจูงใจในการทำงานร่วมกับชาวญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การอันจะส่งผลดีต่อองค์การต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | This research studied the relationship between grit and perceived person-organization fit which comprises of 2 studies. The data was analyzed using a hierarchical multiple regression. The Study 1 explored the moderating effect of organizational types (comparing between Thai and Japanese organizations located in Thailand). The questionnaires were completed by Thai employees which 63 of them were from Thai organizations and 68 of them were from Japanese organizations located in Thailand (131 employees in total). The results showed that grit had a positive relationship with perceived person-organization fit (β = .24, p < .01, f2 = .05), and the organizational types had no moderating effect on the aforementioned relationship. The Study 2 explored the moderating effect of the cultural intelligence. The questionnaires were completed by 183 Thai employees working in Japanese organizations located in Thailand. The results showed that grit had a positive relationship with perceived person-organization fit (β = .23, p < .01, f2 = .08), and only the motivational dimension of cultural intelligence positively moderated the aforementioned relationship (β = .24, p < .01, f2 = .04). Therefore, both organizations should create a work environment that can help improve their employees’ grit in order to increase employees’ perceived person-organization fit. Japanese organizations located in Thailand should recruit those who have high level of motivational cultural intelligence and should organize training program that help develop employees’ motivational cultural intelligence, and motivate their employees to work with Japanese to increase employees’ perceived person-organization fit which would lead to positive outcomes in the organizations. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.584 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | วัฒนธรรมองค์การ | - |
dc.subject | ความฉลาดทางวัฒนธรรม | - |
dc.subject | บรรษัทข้ามชาติ | - |
dc.subject | Corporate culture | - |
dc.subject | Cultural intelligence | - |
dc.subject | International business enterprises | - |
dc.subject.classification | Psychology | - |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างความเพียรกับการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์การ โดยมีรูปแบบองค์การและความฉลาดทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรกำกับ | - |
dc.title.alternative | The relationship between grit and perceived person-organization fit: the moderating effect of organizational types and cultural intelligence | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | จิตวิทยา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.584 | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6370012038.pdf | 2.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.