Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79397
Title: | ผลของโปรแกรมการดูแลวิถีพุทธต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลาม |
Other Titles: | The effect of Buddhist care program on health-related quality of life in patients with advanced cholangiocarcinoma |
Authors: | ปวีณา พงษ์พันนา |
Advisors: | สุรีพร ธนศิลป์ นพมาศ พัดทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Subjects: | ผู้ป่วย -- การดูแล ท่อน้ำดี -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย การแพทย์ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา Care of the sick Bile ducts -- Cancer -- Patients Medicine -- Religious aspects -- Buddhism |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิจัยนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลาม ก่อนได้รับโปรแกรมและภายหลังได้รับโปรแกรมในสัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลาม ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 24 คน ได้รับโปรแกรมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัย คือ โปรแกรมการดูแลวิถีพุทธ และ แบบประเมิน Functional Assessment of Chronic Illness Therapy–Palliative Care (FACIT-Pal) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมิน FACIT-Pal ได้ 0.89 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ 0.94 วิเคราะห์ผลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated ANOVA) ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลามหลังได้รับโปรแกรมสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 2 มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เมื่อจำแนกรายมิติพบว่ามิติความผาสุกด้านจิตอารมณ์หลังได้รับโปรแกรม สัปดาห์ที่1 สัปดาห์ที่ 2 และ สัปดาห์ที่ 6 มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการดูแลวิถีพุทธสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลามได้ แม้ว่าในสัปดาห์ที่ 6 คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพมีแนวโน้มลดลง แต่ผลลัพธ์ของโปรแกรมยังคงสามารถส่งเสริมความผาสุกด้านจิตอารมณ์ของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลามได้ต่อเนื่อง |
Other Abstract: | This research was a quasi - experimental research. The purpose was to compare the effect of Buddhist care program on Health-related quality of life (HRQOL) in patients with advanced cholangiocarcinoma before and after receiving the program in Week 1, Week 2 and Week 6.The samples were 24 advanced cholangiocarcinoma patients who were Buddhist received the Buddhist care program for 2 weeks. The instruments were Buddhist care program and the Functional Assessment of Chronic Illness Therapy-Palliative Care (FACIT-Pal) in Thai version. The content validity index of FACIT- Pal was 0.89 and the Cronbach alpha coefficient was 0.94.One-way repeated ANOVA was applied for data analysis. Result: HRQOL in advanced cholangiocarcinoma patients after receiving the program in week 1 and week 2 were significantly better than before receiving the program at.05 level. The Emotional well-being dimension after receiving the program in week 1, week 2 and week 6 were significantly better than before receiving the program at .05 level. The Buddhist care program can improve HRQOL in advanced cholangiocarcinoma patients after receiving the program in week 1 and week 2. Although HRQOL declined in week 6 but can continue to enhance the emotional well-being. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79397 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.500 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.500 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270006736.pdf | 3.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.