Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79420
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฎฐดา อารีเปี่ยม | - |
dc.contributor.advisor | สุญาณี พงษ์ธนานิกร | - |
dc.contributor.author | ปทิตตา ลิ่มสกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-23T03:57:15Z | - |
dc.date.available | 2022-07-23T03:57:15Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79420 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | - |
dc.description.abstract | การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสังเกตเพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อไตจากยาเคมีบำบัดกลุ่มแพลตินัมในผู้ป่วยมะเร็งชาวไทย เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับสูตรยาเคมีบำบัดกลุ่มแพลตินัม ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยการประเมินพิษต่อไตประเมินจากระดับซีรัมครีเอทินีนที่เพิ่มขึ้นจากค่าพื้นฐานอย่างน้อยร้อยละ 25 ในการศึกษามีผู้ป่วย 240 คน อายุเฉลี่ย 55.6 ± 12.6 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 55 ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 36.3 เป็นมะเร็งระยะแพร่กระจายร้อยละ 60 โดยส่วนใหญ่จะได้รับยาเคมีบำบัดกลุ่มแพลตินัมร่วมกับยาเคมีบำบัดชนิดอื่นในการรักษาร้อยละ 70.4 และได้รับรังสีรักษาร่วมด้วยร้อยละ 32.9 พบอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไต 63 คน (ร้อยละ 26.3) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่ามีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อไตจากยาเคมีบำบัดกลุ่มแพลตินัมทั้งหมด 5 ปัจจัย โดยเป็นปัจจัยเสี่ยง 4 ปัจจัย ได้แก่ มีคะแนนสมรรถภาพร่างกาย ECOG PS 2 (ORadj = 11.447, 95%CI 1.84-71.40, p = 0.009) น้ำหนักตัวตั้งแต่ 60 กิโลกรัมขึ้นไป (ORadj = 2.200, 95%CI 1.05-4.63, p = 0.038) มีโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป (ORadj = 2.884, 95%CI 1.30-6.38, p = 0.009) และโรคมะเร็งในระยะลุกลาม (ORadj = 4.595, 95%CI 1.30-16.28, p = 0.018) และปัจจัยป้องกัน 1 ปัจจัย คือ การได้รับคาร์โบพลาตินหรือออกซาลิพลาติน (ORadj = 0.107, 95%CI 0.05-0.23, p < 0.001) โดยสรุป ผู้ป่วยมะเร็งชาวไทยที่ได้รับสูตรยาเคมีบำบัดกลุ่มแพลตินัมประมาณ 1 ใน 4 เกิดพิษต่อไต ผลการวิจัยที่ได้อาจนำมาใช้ประโยชน์เป็นเครื่องมือในการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดพิษต่อไต ทั้งนี้เพื่อที่จะได้มีการติดตามค่าการทำงานของไตอย่างใกล้ชิด และป้องกันพิษต่อไตที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดกลุ่มแพลตินัม | - |
dc.description.abstractalternative | This observational study was aimed to analyze risk factors associated with nephrotoxicity in Thai cancer patients treated with platinum-based chemotherapy. The data were extracted from electronic medical record of cancer patients aged at least 18 years old who were treated with platinum-based regimen at King Chulalongkorn Memorial Hospital during 1 January 2018 to 31 December 2018. Nephrotoxicity was defined as an increased in serum creatinine at least 25% from baseline. A total of 240 patients were included. The average age was 55.6 ± 12.6 years, and fifty-five percent of patients were female. Predominant tumor types were gastrointestinal cancers (36.3%). Sixty percent were metastatic cancer. Most of the patients received platinum agents plus other chemotherapy drugs (70.4%) and 32.9% were treated with concurrent chemoradiotherapy (CCRT). Nephrotoxicity was found in 63 patients (26.3%). Multiple logistic regression analysis revealed that five factors were associated with nephrotoxicity. Four risk factors of nephrotoxicity included: ECOG PS 2 (ORadj = 12.307, 95%CI 1.68-81.54, p = 0.009), body weight ≥ 60 kg (ORadj = 2.653, 95%CI 1.26-5.58, p = 0.010), at least two comorbidities (ORadj = 2.524, 95%CI 1.14-5.61, p = 0.023) and advanced cancer (ORadj = 4.608, 95%CI 1.32-16.14, p = 0.017), whereas one protective factor was receiving carboplatin or oxaliplatin (ORadj = 0.107, 95%CI 0.05-0.23, p < 0.001) In conclusion, about one-fourth of Thai cancer patients who underwent platinum-based regimen had developed nephrotoxicity. This finding can be utilized as a screening tool to identify patients at high-risk for nephrotoxicity in order to closely monitor renal function and prevent nephrotoxicity from platinum treatment. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.488 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ความเป็นพิษต่อไต | - |
dc.subject | มะเร็ง -- เคมีบำบัด -- ภาวะแทรกซ้อน | - |
dc.subject | Nephrotoxicology | - |
dc.subject | Cancer -- Chemotherapy -- Complications | - |
dc.subject.classification | Health | - |
dc.title | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพิษต่อไตในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดกลุ่มแพลตินัม | - |
dc.title.alternative | Factors associated with nephrotoxicity in cancer patients treated with platinum-based chemotherapy | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การบริบาลทางเภสัชกรรม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.488 | - |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270018433.pdf | 3.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.