Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7954
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สมศักดิ์ ภัคภิญโญ | - |
dc.contributor.author | จิโรจ ศศิปรียจันทร์ | - |
dc.contributor.author | รชฎ ตันติเลิศเจริญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-09-03T01:55:02Z | - |
dc.date.available | 2008-09-03T01:55:02Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7954 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความคงทนของเชื้อไวรัสเอเวียนอินฟลูเอนซาสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 ที่แยกไก่จากไก่ในเขตจังหวัดภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย ระหว่างเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2547 ซึ่งเป็นการระบาดครั้งแรก และ เดือนตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นการระบาดครั้งที่ 2 ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ วิธีทางกายภาพและความเป็นกรด-ด่าง ด้วยการเก็บตัวอย่าง อวัยวะ ปอด ลำไส้ ท่อลม และตับ จากไก่ป่วยที่สงสัย มาทำการแยกและพิสูจน์เชื้อไวรัสเอเวียนอินฟลูเอนซาสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 ด้วยวิธีการฉีดในไข่ไก่ฟักอายุ 11 วัน วิธีการจับกลุ่มตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง วิธีการยับยั้งจับกลุ่มตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง และวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสโดยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส หลังจากนั้นทำการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสด้วยการฉีดในไข่ไก่ฟัก และตรวจหาปริมาณไวรัสในน้ำไข่ไก่ฟัก เก็บน้ำไข่ไก่ฟักนี้ที่ -80 องศาเซลเซียส ( ซ) นำน้ำไข่ไก่ฟักที่มีเชื้อไวรัสมาสกัดอาร์เอ็นเอ (RNA) เพื่อนำไปส่งตรวจการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ของยีนฮีแมกกลูตินิน (hemagglutinin; HA) และนิวรามินิเดส (neuraminidase; NA) นำมาวิเคราะห์การเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป BioEdit version 7.0.5.3 ทำการคัดเลือกเชื้อไวรัสจำนวน 3 เชื้อ มาทดสอบการคงอยู่ของเชื้อไวรัสปริมาณ 1.0 x 10[superscript 8] ELD[subscript 50]/ml ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ กลูตารัลดีไฮด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ควอเตอร์นารีแอมโมเนียม กลูตารัลดีไฮด์ผสมกับกลุ่มควอเตอร์นารี แอมโมเนียม ไอโอดีน คลอรีน ฟอร์มาลิน และฟีนอล ด้วยอัตราส่วนความเข้มข้นที่แนะนำ ที่อุณหภูมิ 25 และ 37 องศาเซลเซียส ณ วันที่ 0, 5, 7 และ 14 ซึ่งมีระยะเวลาสัมผัสของเชื้อไวรัสและน้ำยาฆ่าเชื้อนาน 10 นาที วิธีทางกายภาพด้วยอุณหภูมิ 55, 60, 65 70 และ 75 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 10, 15, 30, 45 และ 60 นาที และความเป็นกรด-ด่าง 3, 5, 7 9 และ 12 โดยใช้กรดไฮโดรคลอริกและโซเดียมไฮดรอกไซด์ผสมในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ ซึ่งมีระยะเวลาสัมผัสของเชื้อไวรัสและสารละลายที่ปรับความเป็นกรด-ด่างนาน 5 และ 10 นาที หลังจากนั้นนำมาฉีดไข่ไก่ฟักอย่างละ 6 ฟอง นำเข้าตู้ฟักไข่ สังเกตและบันทึกการตายของไข่ไก่ฟักเป็นระยะเวลานาน 7 วัน หากพบว่าไข่ไก่ฟักตายทำการเก็บน้ำไข่ไก่ฟักเพื่อแยกและพิสูจน์เชื้อไวรัสดังวิธีการข้างต้น ผลพบว่า สามารถแยกเชื้อไวรัสเอเวียนอินฟลูเอนซาสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 จากการระบาดครั้งแรกได้จำนวน 8 เชื้อ และครั้งที่ 2 ได้จำนวน 1 เชื้อ ทั้ง 9 เชื้อ มีจำนวนนิวคลีโอไทด์ และความเหมือนของการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ของยีน HA และ NA คือ 1638 – 1670 และ 1306 – 1321 และระหว่างร้อยละ 99.32 – 99.88 และ 99.16 – 100 ตามลำดับ คัดเลือกเชื้อไวรัสจำนวน 3 เชื้อคือ 2004.1, CUK-2/04 และ 2004.2 มาทำการศึกษาพบว่า มิความคงทนต่ำหรือไม่มีความคงทนเลยต่อน้ำยาฆ่าเชื้อกลูตารัลดีไฮด์ กลูตารัลดีไฮด์ผสมกับกลุ่มควอเตอนารีแอมโมเนียม คลอรีน และฟีนอล ที่อุณหภูมิ 25 และ 37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 ที และ/หรืออุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที และพบว่าเชื้อไวรัสคงทนต่อสภาพความเป็นกรด-ด่าง ต่าง ๆ ในช่วงที่ทำการศึกษา จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า CUK-2/04 ค่อนข้างคงทนต่อน้ำยาฆ่าเชื้อ อุณหภูมิ และความเป็นกรด-ด่างมากที่สุด | en |
dc.description.abstractalternative | This study was to determine the persistence of isolated avian influenza subtype H5N1 from the central and eastern parts of Thailand between January and February 2004 (the 1 [superscript st] outbreak) and October 2004 (the 2 [superscript nd] outbreak) against various conditions including disinfectants, temperature and pH. Lungs, intestines, tracheas and livers of suspected chickens were isolated and identified as avian influenza virus (AIV) H5N1 by inoculation of 11 days old of chicken embryonated eggs (CEE) hemagglutination test, hemagglutination inhibition test and polymerase chain reaction. The AIV H5N1 propagation and virus titration were done by inoculation of CEE. The allantoic fluid (AF) of CEE containing AIV H5N1 was stored at -80 degree Celsius until used. The AF containing AIV H5N1 was extracted for RNA, which was submitted for nucleotide sequencing of hemagglutinin (HA) and neuraminidase (NA) genes followed by sequencing analysis by BioEdit software version 7.0.5.3. Three AIV H5N1 isolates, each containing 1.0 x 10[superscript 8] ELD[subscript 50]/ml, were determined the persistence of virus with recommended concentration of disinfectants including glutaraldehyde (GLu)< hydrogenperoxide, quatermary compounds (QAC), Glu+QAC, iodine, chlorine, formalin and phenol at 25 and 37 degree Celsius, stored for 0, 5, 7, and 14 days. The exposure time of treated AIV H5N1 with disinfectants was 10 min. The physical methods including various temperatures at 55, 60, 65 70 and 75 degree Celsius for 10, 15, 30, 45 and 60 min an the pH at 3, 5, 7, 9 and 12 were determined. The treated AIV H5N1 were inoculated into six 11 days old of CEE. The inoculated CEE were incubated, observed and recorded for 7 days. The death of inoculated CEE was harvested for the AF, which was isolated and identified as AIV H5N1 as previously described. Results revealed that the 1 [superscript st] and 2 [superscript nd] outbreak found AIV H5N1 for 8 and 1 isolates, respectively. Numbers of nucleotides and the homology of nucleotide sequences of H5 and N1 genes of all 9 isolates were 1638-1670 and 1306-1321, and 99.32%-99.88% and 99.16%-100%, respectively. Three AIV H5N1 isolates, 2004.1, CUK-2/04 and 2004.2, showed the low or no persistence against Glu, Glu+QAC, chlorine and phenol at 25 and 37 degree Celsius. The temperatures at 65 degree Celsius for 60 min and/or at least 70 degree Celsius for at least 10 min could inactivate, where as all ranges of pH could not inactivate all 3 isolates. In this study, CUK-2/04 was more persistent against disinfectants, temperatures, and pH compared to other isolates. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช | en |
dc.format.extent | 601703 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ไวรัสไข้หวัดนก | en |
dc.subject | ไข้หวัดนก | en |
dc.title | การทำลายเชื้อไวรัสเอเวียนอินฟลูเอนซาสายพันธุ์เอช 5 เอ็น 1 ที่แยกได้จากไก่ในประเทศไทยด้วยสารเคมีและวิธีทางกายภาพ : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Inactivation of avian influenza virus subtype H5N1 isolated from chickens in Thailand by chemical and physical methods | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | Somsak.Pa@chula.ac.th | - |
dc.email.author | jiroj_s@hotmail.com | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
somsak.pdf | 587.6 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.