Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79630
Title: การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์
Other Titles: Development of model for enhancing lifelong learning skills for children in foster homes
Authors: พิมพ์ฬัฐช์ โกมลารชุน
Advisors: วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การศึกษาต่อเนื่อง
สถานสงเคราะห์เด็ก
Continuing education
Children -- Institutional care
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ในการเตรียมความพร้อมกลับคืนสู่สังคม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ ใช้ระเบียบวิธีการแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และประเด็นสนทนากลุ่ม โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย (1)เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 1:ศึกษาเอกสารและสื่อจำนวน 30 รายการ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เคยเป็นเด็กในสถานสงเคราะห์และประสบความสำเร็จเมื่อออกมาใช้ชีวิตในสังคม นำผลที่ได้มาสร้างเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด 1. เพื่อสอบถามเด็กในสถานสงเคราะห์ในขอบเขตของทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 2.เพื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ในสถานสงเคราะห์เด็กเรื่องการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (2)เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ที่ 2 ทำการสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้รูปแบบการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 1.มี 2 ส่วน คือ 1.1) ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ มี 10 ทักษะ คือ (1) ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (2) ทักษะด้านสุขภาพจิต การจัดการกับความเครียด มีจริยธรรม คุณธรรม มีวินัย (3) ทักษะด้านอาชีพ การเรียนรู้ และการจัดการเวลา (4) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา (5) ทักษะการเขียน (6) ทักษะการอ่าน (7) ทักษะการร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ ทำงานร่วมกับผู้อื่น (8) ทักษะคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (9) ทักษะความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (10) ทักษะการเงิน การคิดเลข คำนวณ 1.2) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในสถานสงเคราะห์เด็ก มี 4 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านนโยบาย ประกอบด้วย พัฒนาการเรียนรู้แบบนำตนเอง พัฒนาทักษะด้านอาชีพ และพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียนที่แตกต่าง (2) ด้านบุคลากร ประกอบด้วย ผู้อำนวยความสะดวกและสร้างความร่วมมือในการเรียนรู้ ผู้แนะแนวทาง และผู้เรียนร่วม (3) สภาพแวดล้อม ประกอบด้วย ด้านกายภาพคือในห้องเรียน นอกห้องเรียน ภายในบ้าน ด้านจิตวิทยา ประกอบด้วยพฤติกรรม ครูเจ้าหน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างครู เจ้าหน้าที่ เด็ก (4) ด้านกิจกรรม ประกอบด้วย ภายในห้องเรียน ภายนอกห้องเรียน และภายในบ้าน 2. ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ที่ 2 ข้อเสนอการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในสถานสงเคราะห์เด็ก ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์ การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กในสถานสงเคราะห์ในบริบทของสังคมไทย
Other Abstract: The purpose of this research were 1) to study lifelong learning skills necessary for children in foster homes to prepare them return to society 2) to develop a model for enhancing lifelong learning skill for children in foster homes. The study used research and development methodology. Research tools were interview forms, questionnaires, and group discussions. (1) To study the objectives 1: from 30 documents and media and conduct in-depth interviews with those who used to be a child in foster homes and successful in life. The results were used to create two questionnaires: 1. To ask children in foster homes on the scope of lifelong learning skills  2. To ask staff in foster homes about the promotion of lifelong learning skills. (2) To study the second objective, conduct a group discussion. To obtain a model for promoting lifelong learning skills for children in foster homes. There were 2 findings found according to the two objectives of the study: objective 1: 10 lifelong learning skills for children in foster homes (1) creativity skill (2) mental health stress management and ethical skill (3) career, learning and time management skills (4) critical thinking and problem solving skill (5) Writing skill (6) Reading skill (7) cooperation with various networks and teamwork skill (8) computer Information communication and media literacy skills (9) Cross-cultural understanding skill (10) financially and calculation skill 2: 4 parts of lifelong learning promotion in foster homes : (1) policy part were self-directed learning development; career skills development according to the potential of different learners (2) staff part were facilitators and collaborators in learning, guides and co-students. (3) environment part were 3.1 physical aspect: in the classroom, outside the classroom, inside the home. 3.2 psychology consists of behavior. staff teacher and the relationship between teachers, staff, and children (4) activities part were within the classroom, outside the classroom and inside the house. Findings based on objective 2 Proposal for the promotion of lifelong learning skills for children in foster homes consists of concepts, principles, objectives, promotion of lifelong learning skills for children in foster homes in the context of Thai society.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79630
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.561
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.561
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984474927.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.