Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79663
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.advisor | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ | - |
dc.contributor.author | สุจิตรา พิพัฒนพงษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-23T04:31:05Z | - |
dc.date.available | 2022-07-23T04:31:05Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79663 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและสมรรถนะผู้นำในอนาคต 2) สภาพที่พึงประสงค์ของเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต และ 3) ออกแบบนวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาและประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างจำนวน 481 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 692 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) แบบสอบถามที่พึงประสงค์ 3) แบบสัมภาษณ์แนวปฏิบัติที่ดี 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย (1) โปรแกรมการพัฒนา 3 โปรแกรม ได้แก่ (1.1) โปรแกรมการพัฒนาก่อนการปฏิบัติงาน (1.2) โปรแกรมการพัฒนาเมื่อเริ่มปฏิบัติงาน และ (1.3) โปรแกรมการพัฒนาขณะปฏิบัติงาน (2) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 3 รูปแบบ ได้แก่ (2.1) การพัฒนาระหว่างเวลาปฏิบัติงาน (2.2) การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน (2.3) การพัฒนาแบบผสมผสาน70:20:10 กรอบแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต ประกอบด้วย 12 สมรรถนะ ได้แก่ (1) การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (2) การสื่อสารอย่างชัดเจน (3) การมีวิสัยทัศน์ (4) การขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง (5) การเรียนรู้สิ่งใหม่อย่างฉับไว (6) การปรับตัวและยืดหยุ่น (7) การยอมรับความแตกต่างและความหลากหลาย (8) การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ (9) การสร้างแรงบันดาลใจและความผูกพัน (10) การพัฒนาผู้มีศักยภาพสูงสำหรับอนาคต (11) ความฉลาดรู้ทางดิจิทัล และ(12) ความซื่อสัตย์สุจริต 2) สภาพที่พึงประสงค์ของเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต ประกอบด้วย 2.1) โปรแกรมการพัฒนา 3 โปรแกรม (1) โปรแกรมการพัฒนาก่อนการปฏิบัติงาน ควรมุ่งเน้น 5 สมรรถนะ คือ การมีวิสัยท้ศน์ การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ความซื่อสัตย์สุจริต ความฉลาดรู้ทางดิจิทัล และ การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ (2) โปรแกรมการพัฒนาเมื่อเริ่มปฏิบัติงาน ควรมุ่งเน้น 5 สมรรถนะ คือ การเรียนรู้สิ่งใหม่อย่างฉับไว การปรับตัวและยืดหยุ่น การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ การยอมรับความแตกต่างและความหลากหลาย และ การสื่อสารอย่างชัดเจน (3) โปรแกรมการพัฒนาขณะปฏิบัติงาน ควรมุ่งเน้น 5 สมรรถนะ คือ การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ การมีวิสัยทัศน์ การขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ และ การสื่อสารอย่างชัดเจน 2.2) รูปแบบการพัฒนาที่พึงประสงค์มากที่สุด คือ การพัฒนาแบบผสมผสาน 70:20:10 แบบออนไลน์และแบบออฟไลน์ 2.3) วิธีการพัฒนาที่พึงประสงค์แบบออนไลน์ 5 อันดับแรก คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัล เครือข่ายออนไลน์ ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพออนไลน์ การฝึกอบรมเสมือนจริง และวิธีพัฒนาแบบออฟไลน์ 5 อันดับแรกคือ การสอนแนะ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ การมอบหมายโครงการ เครือข่ายการเรียนรู้ 3) นวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต คือ “นวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาสามชั้นของผู้บริหารโรงเรียนตามโปรไฟล์และระดับสมรรถนะผู้นำในอนาคต” ประกอบด้วย 2 นวัตกรรมย่อย คือ (1) นวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาสามชั้นของผู้อำนวยการโรงเรียน 3 โปรแกรม 6 โมดูล ตามโปรไฟล์และระดับสมรรถนะผู้นำในอนาคต (2) นวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาสามชั้นของรองผู้อำนวยการโรงเรียน 3 โปรแกรม 6 โมดูล ตามโปรไฟล์และระดับสมรรถนะผู้นำในอนาคต | - |
dc.description.abstractalternative | The research aimed to 1) study the conceptual framework of development roadmap of school leaders and future leadership competencies 2) explore the desirable states of school leaders’ development roadmap based on the concept of future leadership competencies. 3) design the innovative roadmap for the development of school leaders based on the concept of future leadership competencies. Multiphase mixed methods research design was used. The research population comprised primary and secondary schools under supervision of the Office of the Basic Education Commission, while the research sample consisted of 481 schools. The 692 informants were school administrators. The research instruments were evaluation forms, questionnaire and interview form. Statistics employed for data analysis were the frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The research findings revealed that 1) The conceptual framework of development roadmap consisted of (1) Three development programs included (1.1) Pre-service program (1.2) Induction program (1.3) In-service program (2) Three development approaches included (2.1) On-the job development (2.2) Off-the-job development (2.3) Blended development 70:20:10. The conceptual framework of future leadership competencies consisted of 12 competencies; (1) Strategic Management (2) Clear Communication (3) Visionary (4) Driving Innovation & Changes (5) Learning Agility (6) Adaptability (7) Diversity & Inclusion (8) Networking & Collaboration (9) Inspiring & Engaging People (10) Developing Tomorrow Talent (11) Digital Literacy (12) Integrity. 2) The desirable states of school leaders’ development roadmap based on the concept of future leadership competencies could be included 2.1) Three development programs consisted of (1) Pre-service program which should be focused on 5 competencies; visionary, strategic management, integrity, digital literacy and networking & collaboration. (2) Induction program which should be focused on 5 competencies; learning agility, adaptability, networking & collaboration, diversity & inclusion and clear communication (3) In-service program which should be focused on 5 competencies; strategic management, visionary, driving innovation & changes and clear communication 2.2) The most desirable state of development approach was Blended development 70:20:10 both online and offline. 2.3) The top five aspects of online development were self-paced learning, digital learning, online networking, online PLC and virtual training. The top five aspects of offline development were coaching, workshop, PLC, project assignment and learning network. 3) The innovative roadmap for the development of school leaders based on the concept of future leader competencies was “Three-Tier development roadmap innovation of school leaders based on the future leadership competency profiles and matrix”, consisted of two sub-innovations: (1) Three-Tier development roadmap of school director comprised 3 programs and 6 modules based on the future leadership competency profiles and matrix. (2) Three-Tier development roadmap of deputy school director comprised 3 programs and 6 modules based on the future leadership competency profiles and matrix. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.726 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ผู้บริหารโรงเรียน | - |
dc.subject | ผู้นำทางการศึกษา | - |
dc.subject | School administrators | - |
dc.subject | Educational leadership | - |
dc.subject.classification | Social Sciences | - |
dc.title | นวัตกรรมเส้นทางการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้นำในอนาคต | - |
dc.title.alternative | Innovative roadmap for the development of school leaders based on the concept of future leader competencies | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.726 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6184226127.pdf | 16.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.