Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79721
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุกัญญา แช่มช้อย | - |
dc.contributor.author | สุปัญญา ปักสังคะเณย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-23T04:32:19Z | - |
dc.date.available | 2022-07-23T04:32:19Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79721 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม (3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม ผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการหรือหัวหน้าฝ่ายกิจการนักเรียน 1 คน หัวหน้างานหอพักหรือครูผู้ดูแลนักเรียนประจำ 2 คน ครูผู้สอน 2 คน รวมจำนวน 114 คน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักเรียนของโรงเรียนประจำ โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 รวมจำนวน 228 คน และผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหา ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะทางพฤติกรรมของนักเรียนโรงเรียนประจำ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม คือ งานควบคุม กำกับดูแลระเบียบวินัย รองลงมา คือ งานบริการและสวัสดิการ และงานกิจกรรเสริมหลักสูตร ตามลำดับ ซึ่งองค์ประกอบทักษะทางพฤติกรรมที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การเปิดใจ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม นำเสนอไว้ 3 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนางานควบคุม กำกับดูแลระเบียบวินัย ด้วยการใช้ข้อมูลต่างๆ ของนักเรียน ในการเสริมสร้างทักษะทางพฤติกรรมด้านการเปิดใจ (2) พัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยมุ่งเน้นนักเรียน ด้านการมีความมั่นคงทางอารมณ์ โดยการจัดกิจกรรมที่นอกเหนือจากงานสอนปกติ เพื่อพัฒนาการด้านสติ อารมณ์ (3) พัฒนาระบบการวางแผน งานบริการและสวัสดิการแก่นักเรียน ให้มีความสมบูรณ์และต่อเนื่อง | - |
dc.description.abstractalternative | This research is a descriptive research. The objectives were (1) to study the level of behavioral skills of boarding school (2) to study the needs for developing of boarding school student affairs management according to the concept of Non cognitive skills (3) to propose approaches for developing student affairs management of boarding schools according to The concept of Non cognitive skills. Three groups of informants consisted. The first group of informants: 1 director, 1 deputy director or head of student affairs, 2 dormitory supervisors or teachers taking care of boarding students, 2 teachers, total of 114 people, the second group of informants were students of boarding schools. Specifically, 228 students in grades 1-6 were selected and the third group of informants, consisting of 5 experts, assessed the suitability and feasibility of the draft guidelines. The research instrument was a questionnaire on Non cognitive skills of boarding school. A questionnaire on the present condition and the desirable condition of student affairs administration in boarding schools based on the concept of Non cognitive skills. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, PNIModified, mode, and content analysis. The findings showed that: 1.) Students’ Non cognitver skills of boarding school were the high level. in terms of having emotional stability 2.) The need for development of student affairs management of boarding schools based on the concept of Non cognitive skills was supervision and discipline, The second was service and welfare. and the third was extra-curricular activities, respectively, in which the behavioral skill component that has the highest need is open-mindedness. 3.) The 3 approaches for developing for student affairs management in boarding school based on the concept of Non cognitive skills are presented in 3 approaches as follows: (1) Develop control tasks. Discipline supervision with the use of student information to enhance Openness skills; (2) to develop extra-curricular activities By focusing on students' Emotional stability by organizing activities other than normal teaching work. for the development of mindfulness and emotions; (3) to develop a planning system Service and welfare work for students to be complete and continuous. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.727 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Social Sciences | - |
dc.title | แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนประจำตามแนวคิดทักษะทางพฤติกรรม | - |
dc.title.alternative | Approaches for developing student affairs management of boarding school based on the concept of non cognitive skills | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.727 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380189227.pdf | 6.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.