Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79822
Title: Synthesis of transition metal-titanosilicate catalysts for benzene hydroxylation
Other Titles: การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะแทรนซิชันไทเทโนซิลิเกตสำหรับเบนซีนไฮดรอกซิเลชัน
Authors: Pornpimol Wongsuwan
Advisors: Duangamol Tungasmita
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The microporous (TS-1 and Ti-MWW) and mesoporous (Ti-MCA and Ti-SBA-15) titanosilicates with the transition metal were successfully synthesized by hydrothermal followed by impregnation method. The transition metals in this study were Ce, Cu, Fe, and V. All synthesized products were characterized the physical properties by using X-ray powder diffraction, N2 adsorption-desorption, DR-UV spectrophotometry, scanning electron microscopy (SEM), transmission electron microscopy (TEM) and inductively coupled plasma mass spectrometry (ICP-MS). After the bimetallic catalysts modification, the porous materials still preserved structure of parent materials. Moreover, the second metal was dispersed on the surface of titanosilicate supporter which confirmed by TEM results. The catalytic activity of the prepared catalysts was evaluated in the benzene hydroxylation with hydrogen peroxide as the oxidizing agent. Among various kind of second metals, V presented the best catalytic activity in all titanosilicate supports. The presence of V in catalyst remarkably enhanced catalytic oxidation capacity because of the increase of active site. Nature and dispersion of vanadium species as well as structure of titanosilicate support had tremendous effect on the yield of phenol product. At the optimum reaction condition of each catalyst, vanadium supported on Ti-MWW with 5 wt.% V-content showed highest catalytic performance with 14.72% yield of phenol. The three-dimensional and unique pore system of Ti-MWW made the efficient diffusion and transport of reactants resulting in high catalytic performance. The optimum condition in benzene hydroxylation was carried at benzene: H2O2 mole ratio of 1:3, 0.1 g of 5 wt.% V/Ti-MWW, acetonitrile 5.66 g, 55˚C for 3 h. 
Other Abstract: สามารถสังเคราะห์ไทเทโนซิลิเกตที่มีรูพรุนขนาดเล็ก (ไทเทโนซิลิกาไลต์-1 และไทเทเนียม-เอ็มดับเบิลยูดับเบิลยู) และรูพรุนขนาดกลาง (ไทเทเนียมเอ็มซีเอ และไทเทเนียมเอสบีเอ-15) ที่มีโลหะแทรนซิชันได้สำเร็จโดยวิธีทางความร้อน และตามด้วยวิธีเคลือบฝัง โลหะแทรนซิชันในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ซีเรียม คอปเปอร์ เหล็ก และวาเนเดียม ผลิตภัณฑ์ที่สังเคราะห์ได้ทั้งหมดถูกตรวจสอบลักษณะทางกายภาพโดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ การดูดซับแก๊สไนโตรเจน การดูดกลืนแสงยูวี กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน และไอซีพี-เอ็มเอส ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีโลหะสองชนิดทุกตัวยังคงรักษาโครงสร้างของวัสดุต้นแบบไว้ได้หลังการดัดแปลง นอกจากนี้โลหะตัวที่สองได้กระจายอยู่บนพื้นผิวของตัวรองรับไทเทโนซิลิเกตซึ่งยืนยันโดยผลการทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมได้ถูกทดสอบความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาในปฏิกิริยาเบนซีนไฮดรอกซิเลชันโดยมีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นตัวออกซิไดซ์ ในบรรดาโลหะตัวที่สองชนิดต่างๆ วาเนเดียมมีความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาได้ดีที่สุดในทุกตัวรองรับไทเทโนซิลิเกต การมีวาเนเดียมในตัวเร่งปฏิกิริยาจะเพิ่มประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันเนื่องจากเป็นการเพิ่มตำแหน่งในการเกิดปฏิกิริยา ธรรมชาติและการกระจายตัวของวาเนเดียมรวมไปถึงโครงสร้างของตัวรองรับไทเทโนซิลิเกตมีผลอย่างมากต่อผลิตภัณฑ์ฟีนอลที่ได้  ที่ภาวะการทดลองที่ดีที่สุดของตัวเร่งปฏิกิริยาแต่ละตัว วาเนเดียมบนตัวรองรับไทเทเนียมเอ็มดับเบิลยูดับเบิลยูที่มีปริมาณวาเนเดียมร้อยละ 5 โดยน้ำหนักให้ประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาสูงที่สุดโดยให้ผลิตภัณฑ์ฟีนอล 14.72% โครงสร้างของรูพรุนที่เป็นแบบสามมิติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของไทเทเนียมเอ็มดับเบิลยูดับเบิลยูทำให้ความสามารถในการแพร่และการขนส่งสารตั้งต้นมีประสิทธิภาพสูงส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาสูงด้วย ภาวะการทดลองที่ดีที่สุดในปฏิริยาเบนซีนไฮดรอกซิเลชันอยู่ที่สัดส่วนโมลของเบนซีนต่อไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 1:3 ตัวเร่งปฏิกิริยาวาเนเดียมบนตัวรองรับไทเทเนียมเอ็มดับเบิลยูดับเบิลยูที่มีโลหะวาเนเดียมร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก ปริมาณ 0.1 กรัม อะซิโตไนไตรล์ 5.66 กรัม ที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส  เป็นเวลา 3 ชั่วโมง
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Petrochemistry and Polymer Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79822
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1768
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1768
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572256023.pdf9.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.