Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80280
Title: กลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์การภาครัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา กระทรวงมหาดไทย 
Other Titles: Driving mechanism in the implementation of public sectors to achieve the sustainable development goals: the case study of the Ministry of Interior.
Authors: นิรุต หัตถะผะสุ
Advisors: วิมลมาศ ศรีจำเริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษากลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์การภาครัฐเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) กรณีศึกษา กระทรวงมหาดไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนการดำเนินงานและวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทย ในเป้าหมายด้านการกำจัดความยากจนและเป้าหมายด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ และเพื่อศึกษาถึงปัจจัยและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน วิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหา ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยผู้ให้สัมภาษณ์ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ส่วนกลางสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ส่วนกลางระดับกรมที่เกี่ยวข้องสังกัดกระทรวงมหาดไทย และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัด ซึ่งจะใช้กรอบแนวคิดในการศึกษาที่ศึกษาผ่านปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และการดำเนินงานร่วมกันระหว่างองค์กร (Cooperation) ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายด้านการกำจัดความยากจนและด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติไปปฏิบัติ ได้แก่ นโยบายมีความชัดเจนและสอดคล้องกับแผนระดับชาติ นโยบายได้รับความสำคัญจากฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร การนำระบบเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม มีความเพียงพอของทรัพยากร หน่วยงานมีความพร้อมและมีการมอบหมายงานที่ชัดเจน บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่องาน แต่ยังขาดความรู้เรื่องความยั่งยืน และการใช้กลไกคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นหลัก รวมทั้งพบว่า การดำเนินการร่วมกันระหว่างองค์กร (Cooperation) ด้วยการมีกระบวนการประสานการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่ดีผ่านเครื่องมือคณะกรรมการ หนังสือราชการ และสื่อออนไลน์ และบุคลากรส่วนใหญ่มีความเข้าใจและเข้าถึงประชาชนเป็นอย่างดี ส่งผลดีต่อพฤติกรรมการดำเนินงานร่วมกัน นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้สร้างกลไกต่าง ๆ เข้ามาช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยเฉพาะการจัดทำแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Roadmap) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทยได้
Other Abstract: The objectives of this research are to study and analyze the driving mechanism in the implementation to achieve the sustainable development goals in poverty eradication and disaster management by the Ministry of Interior. This qualitative research used In-depth interview as a research method to determine key success factors from a research framework. The interviewees of this research consisted of officers from the Ministry’s Office of Secretary, relevant departments provincial offices. Research results showed that the key successful factors of poverty eradication and disaster management are 1) alignment to the national policy 2) supports from politicians and government 3) readiness of technology, manpower and their attitude. 4) cooperation between various sectors in group discussions, online media, official letters and 5) the citizen-centric understanding of officers. Furthermore, the Ministry of Interior has been emphasizing the SDGs by developing SDG Roadmap to increase the efficiency in achieving the goals.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80280
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.454
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.454
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6282026024.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.