Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80320
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรดา จงกลรัตนาภรณ์-
dc.contributor.authorจารุกุล สงวนไทร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T05:38:59Z-
dc.date.available2022-07-23T05:38:59Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80320-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (นศ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อบริหารความสัมพันธ์กับแฟนเพลงของศิลปินวงพาราด็อกซ์ 2) เพื่อศึกษาความผูกพันของแฟนเพลงที่มีต่อการสื่อสารเพื่อบริหารความสัมพันธ์ของศิลปินวงพาราด็อกซ์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการศึกษาซึ่งประกอบไปด้วย 2 วิธี ดังนี้ 1.การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับตัวแทนศิลปินวงพาราด็อกซ์ (Paradox) จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ นายอิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา (นักร้องนำ), นาย จักรพงศ์ สิริริน (มือเบส)  2.การสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group) กับแฟนเพลงวงพาราด็อกซ์ จำนวน 6 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ และผู้วิจัยได้หาข้อมูลเพิ่มเติมบนออนไลน์ มาศึกษาประกอบการวิจัยในครั้งนี้ ผลการศึกษา พบว่าความผูกพันและความเป็นแฟน (Fans) ของแฟนเพลงวงพาราด็อกซ์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการติดตามหรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสื่อสาร เพื่อบริหารความสัมพันธ์ของศิลปินซึ่งสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าแฟนเพลงจะติดตามศิลปินได้ยาวนานคือการสื่อสารที่สะท้อนจากอัตลักษณ์ และตัวตนของศิลปินเองที่มีความอินดี้แตกต่างไม่เหมือนใคร ความแปลกของวงเป็นส่วนที่ช่วยให้การสื่อสารเพื่อบริหารความสัมพันธ์กับแฟนเพลงออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งศิลปินมีการวางแบบแผนแนวทางในการสื่อสารในแต่ละยุคตลอดระยะเวลา 25 ปีมีการพัฒนาการสื่อสารให้เป็นไปตามบริบทและเทคโนโลยีของช่วงเวลานั้น ๆ และสื่อสารไปยังแฟนเพลงแต่ละกลุ่ม ส่งผลให้แฟนเพลงของวงพาราด็อกซ์ยอมรับและเคารพในตัวตนของวง ตลอดจนความเป็นกันเองที่แฟนเพลงมองว่าสามารถเข้าถึงได้ที่ทำให้แฟนเพลงยังคงติดตามศิลปินวงพาราด็อกซ์ต่อไปในระยะยาว-
dc.description.abstractalternativeThis research’s objectives are: 1) to study the communication Paradox makes to keep relationship with fans. 2) to study fans’ commitment to the engagement Paradox makes, in order to further manage the relationship with fans. The studies have been executed by the qualitative research of two methods. 1) In-depth interview, with two Paradox members: Ittipong Kridakorn (Singer) and Jakpong Siririn (Bass) 2) Focus Group, with 6 Paradox fans selected by purposeful sampling to filter only samplers with matching qualifications. Researcher also searches for the additional information on online platforms to assemble this research. The study not only shows that the royalty and the fandom of Paradox fans do not link with the duration that fans follow or participate with communication activities for the fans-band relationship management, but also indicates that the long-period band following of fans connects with the communications relaying band's identity and band members' unique indy styles and friendliness. The odd of the band partially enables effective communications for fans-band relationship management. Over 25 years, the band has been planning and developing communication ways, based on context and technologies of each period, for each fan group. Fans of Paradox, hence, accept and respect the band's identity.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.321-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการสื่อสารเพื่อบริหารความสัมพันธ์และความผูกพันของแฟนเพลงกับศิลปินวงพาราด็อกซ์ (Paradox)-
dc.title.alternativeCommunication for relationship management and fans’ engagement toward Paradox music band-
dc.typeIndependent Study-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.321-
Appears in Collections:Comm - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380008628.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.