Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80416
Title: การเปรียบเทียบปริมาณไมโครพลาสติกในส่วนต่างๆของดอกไม้ทะเล (Cnidaria: Anthozoa)
Other Titles: Comparison of microplastic in different body parts of sea anemone (Cnidaria: Anthozoa)
Authors: สุประดิษฐ์ พึ่งผล
Advisors: นนทิวิชญ ตัณฑวณิช
สุชนา ชวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ไมโครพลาสติก
ขยะพลาสติกในทะเล
ดอกไม้ทะเล
Microplastics
Plastic marine debris
Sea anemones
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมทางทะเลเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั่วโลก โดยทั่วไปไมโครพลาสติกจะมีขนาดระหว่าง 1 ไมโครเมตร ถึง 5 มิลลิเมตร และมีความหลากหลายของรูปร่างสามารถปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตและส่งผลเสีย ในด้านต่าง ๆ เช่น การสะสมในเนื้อเยื่อ ส่งผลกระทบต่อระบบหายใจ การย่อยอาหาร การสืบพันธุ์และทำให้เกิดการเจริญที่ผิดปกติในตัวอ่อนซึ่งสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไนดาเรียเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปนเปื้อนไมโครพลาสติกโดยในงานทดลองที่ผ่านมานิยมศึกษาปริมาณไมโครพลาสติกในโพลิปปะการังซึ่งมีขนาดเล็กทำให้มีความเป็นไปได้ที่การประเมินปริมาณไมโครพลาสติกมีค่าที่สูงเกินจริงเนื่องจากไม่สามารถวิเคราะห์แยกส่วนได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงใช้ดอกไม้ทะเลชนิด Aiptasia sp.เป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไนดาเรียที่มีโพลิปขนาดใหญ่เพื่อตรวจหาปริมาณ ไมโครพลาสติกในแต่ละส่วนของโพลิป โดยทำการเก็บตัวอย่างดอกไม้ทะเลชนิด Aiptasia sp. จากบริเวณระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกาะสีชัง (n = 20) และบริเวณเกาะแสมสาร (n = 7) จังหวัดชลบุรี โดยนำดอกไม้ทะเลมาแยกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนหนวด (tentacle) ส่วนปาก (oral disc) และส่วนเนื้อเยื่อบริเวณระบบทางเดินอาหาร (gastrodermis) ชั่งน้ำหนักเปียก (mg) และวัดความยาว (mm) จากนั้นย่อยเนื้อเยื่อด้วยการอุ่นสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 10% นำไปกรองผ่านแผ่นกรองขนาด 1.2 μm และแช่แผ่นกรองในสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ นำไปเข้าเครื่อง sonicator และ centrifuge เมื่อเสร็จสิ้นกรองด้วยแผ่นกรองอีกครั้งและทิ้งให้แห้ง จากนั้นนำมาตรวจสอบไมโครพลาสติกด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอและ โปรแกรม cell^D เพื่อวิเคราะห์ปริมาณและขนาดของไมโครพลาสติก ผลการศึกษาพบว่ามีไมโครพลาสติก 2 ประเภทคือ เส้นใย (fiber) และ ชิ้นส่วน (particle) โดยค่าเฉลี่ยปริมาณไมโครพลาสติกที่พบในเนื้อเยื่อดอกไม้ทะเล ส่วนหนวด ส่วนปาก และส่วน gastrodermis จากบริเวณเกาะสีชัง คือ 0.16 ± 0.11 ชิ้นต่อมิลลิกรัมน้ำหนักเปียก 2.39 ± 1.58 ชิ้นต่อมิลลิกรัมน้ำหนักเปียก และ 0.20 ± 0.13 ชิ้นต่อมิลลิกรัมน้ำหนักเปียก ตามลำดับ ในขณะเดียวกันบนเกาะแสมสารค่าเฉลี่ยปริมาณไมโครพลาสติกที่พบในเนื้อเยื่อดอกไม้ทะเล ส่วนหนวด ส่วนปาก และส่วน gastrodermis คือ 0.28 ± 0.04 ชิ้นต่อมิลลิกรัมน้ำหนักเปียก 4.43 ± 1.80 ชิ้นต่อมิลลิกรัมน้ำหนักเปียก และ 0.35 ± 0.21 ชิ้นต่อมิลลิกรัมน้ำหนักเปียก ตามลำดับ โดยทั้งสองเกาะมีปริมาณไมโครพลาสติกสะสมในเนื้อเยื่อส่วนปากสูงที่สุด นอกจากนั้นค่าเฉลี่ยขนาดของไมโคร พลาสติกบริเวณเกาะสีชังที่พบในเนื้อเยื่อ ส่วนหนวด ส่วนปาก และส่วน gastrodermis คือ 0.89 ± 0.35 มิลลิเมตร 0.96 ± 0.34 มิลลิเมตร และ 0.76 ± 0.35 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยไมโครพลาสติกที่พบบริเวณส่วนปากมีขนาดใหญ่ที่สุด และส่วน gastrodermis กับส่วนหนวดมีขนาดใกล้เคียงกัน ค่าเฉลี่ยขนาดของไมโครพลาสติกบริเวณบนเกาะแสมสารที่พบในเนื้อเยื่อ ส่วนหนวด ส่วนปาก และส่วน gastrodermis คือ 0.78 ± 0.14 มิลลิเมตร 1.12 ± 0.29 มิลลิเมตร และ 0.97 ± 0.29 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยไมโครพลาสติกที่พบบริเวณส่วนปากมีขนาดใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ ส่วนหนวด และส่วน gastrodermis ตามลำดับ นอกเหนือจากนั้นทั้งปริมาณและขนาดของไมโครพลาสติกจากตัวอย่างที่เก็บจากบริเวณเกาะแสมสารมีค่าสูงกว่าบริเวณเกาะสีชัง จึงอาจกล่าวได้ว่าบริเวณเกาะแสมสารมีการปนเปื้อนไมโครพลาสติกมากกว่าบริเวณเกาะสีชัง และอาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น กิจกรรมของมนุษย์บริเวณที่ตั้งของเกาะที่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ในระยะทางที่ไม่เท่ากัน หรือกระแสน้ำที่มีการไหลพัดรอบเกาะที่แตกต่างกัน
Other Abstract: Microplastic contamination in the marine environment is currently a major problem affecting organisms around the world. Microplastics are typically smaller than 5 mm and occur in a variety of shapes. Microplastic contamination induces several negative effects such as accumulation in tissues, problems related to respiratory system, digestion, reproduction, and embryonic development. Most importantly, microplastic can be transferred along the food chain. In the past, several studies were conducted in coral polyps, which are relatively small, making it difficult to separate body parts. In which case, the amounts of microplastics were possibly overestimated, particularly those, which could potentially be transferred to higher trophies level. Therefore, the main objective of this study was to compare the amounts of microplastics from different parts of sea anemone Aiptasia sp. Samples were collected from the aquaculture system on Si Chang Island (n = 20) and along the coast of Samae San Island (n = 7) Chon Buri Province. Whole polyps were separated into 3 parts: tentacle, oral disc (or mouth), and gastrodermis. Weights and lengths of polyps were recorded. Tissue samples were digested with 10% potassium hydroxide solution, filtered through 1.2 μm filter membranes, and transferred to potassium iodide solution for sonication, and centrifuged. Microplastic remaining on filter membranes were examined under stereomicroscope, using program cell^D to determine the type, amount, and size of microplastic. The results revealed that 2 types of microplastics: fiber and particle. At Sichang Island, the average amouts of microplastic obtained from tentacle, mouth, and gastrodermis were 0.16 ± 0.11 pieces/mg wet weight, 2.39 ± 1.58 pieces/mg wet weight, 0.20 ± 0.13 pieces/mg wet weight, respectively. At Samae San Island, the average amouts of microplastic obtained from tentacle, mouth, and gastrodermis is were 0.28 ± 0.04 pieces/mg wet weight, 4.43 ± 1.80 pieces/mg wet weight, and 0.35 ± 0.21 pieces/mg wet weight. At both locations, microplastics accumulated at the mouth were the highest, followed by the gastrodermis and tentacle. In addition, the average size of microplastics observed at Sichang Island from tentacle, mouth, and gastrodermis were 0.89 ± 0.35 mm., 0.96 ± 0.34 mm., and 0.76 ± 0.35 mm., respectively. At Samae San Island from tentacle, mouth, and gastrodermis were 0.78 ± 0.14 mm, 1.12 ± 0.29 mm., and 0.97 ± 0.29 mm., respectively. The largest size of microplastics was observed from tissued obtained from mouth, followed by tentacle and gastrodermis. The results revealed that both the amount and size of microplastics obtained from Samae San Island were higher and larger compared to Sichang Island. Therefore, it is possible that Samae San Island is more contaminated due to several factors including human activities, the distance from mainland, and patterns of water current around the Islands.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80416
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-ZOO-022 - Supradit Phengpon.pdf28.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.