Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80449
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิภาพรรณ โสตถิยานนท์-
dc.contributor.authorสรินทร ลิ่มปนาท-
dc.contributor.authorศรีไฉล ขุนทน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ-
dc.date.accessioned2022-09-05T08:48:34Z-
dc.date.available2022-09-05T08:48:34Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80449-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการสกัดเส้นใยเซลลูโลสจากเส้นใยปอแก้วโดยใช้กระบวนการอัลคาไลน์ทรีทเม้นท์และการเตรียมเยื่อสีขาว เส้นใยเซลลูโลสที่สกัดได้ (เส้นใย K) มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 9 ไมโครเมตร โดยมีขนาดเล็กกว่าเส้นใยเซลลูโลสทางการค้าที่สกัดจากเส้นใยฝ้าย (เส้นใย C) นอกจากนี้เส้นใย K ยังมีความเป็นผลึกและอุณหภูมิการสลายตัวทางความร้อนสูงกว่าเส้นใย C ซึ่งเส้นใย K และเส้นใย C นำมาใช้เป็นสารตัวเติมในวัสดุพอลิพรอพิลีนคอมโพสิต สารคู่ควบมาเลอิกแอนไฮไดรด์กราฟท์พอลิพรอพิลีน (MAPP) ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ มี 3 ชนิด ได้แก่ Aldrich PP-g-MA (A), Licocene PP MA 6252 GR (L) และ SCONA TPPP 8112 FA (S) ซึ่งมีโครงสร้างทางเคมีเหมือนกัน สำหรับสมบัติทางความร้อนของ MAPP พบว่า MAPP ชนิด L มีอุณหภูมิเริ่มการสลายตัวทางความร้อน อุณหภูมิการเกิดผลึก และอุณหภูมิการหลอมผลึกต่ำที่สุด ในขณะที่ MAPP ชนิด A มีอุณหภูมิเริ่มการสลายตัวทางความร้อนสูงที่สุด แต่ MAPP ชนิด S มีอุณหภูมิการเกิดผลึกและอุณหภูมิการหลอมผลึกต่ำที่สุด กระบวนการที่ใช้สำหรับการเตรียมวัสดุพอลิพรอพิลีนคอมโพสิตคือการบดผสมแบบสองลูกกลิ้งตามด้วยการกดอัดด้วยความร้อน ระดับปริมาณของเส้นใย K และเส้นใย C ที่เติมคือร้อยละ 1 และ 5 โดยน้ำหนัก และระดับปริมาณของสารคู่ควบ MAPP ที่เติมคือร้อยละ 0.8 และ 1 โดยน้ำหนัก จากนั้นศึกษาสมบัติความทนแรงดึง สัณฐานวิทยา และสมบัติทางความร้อนของวัสดุคอมโพสิตดังกล่าว การเติมเส้นใย K และเส้นใย C มีผลต่อสมบัติความทนแรงดึงและสมบัติทางความร้อนของวัสดุพอลิพรอพิลีนคอมโพสิตเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ภาพทางสัณฐานวิทยาของวัสดุพอลิพรอพิลีนคอมโพสิตที่เติมเส้นใย K และ C แสดงร่องรอยการหลุดออกของเส้นใย ซึ่งชี้ถึงการยึดติดที่ไม่ดีของเส้นใยและเมทริกซ์ สำหรับการเติมสารคู่ควบ MAPP นั้น สามารถปรับปรุงสมบัติความทนแรงดึงของวัสดุพอลิพรอพิลีน คอมโพสิตที่เติมเส้นใย K และ C ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเค้นแรงดึงสูงสุด และมอดุลัสของสภาพยืดหยุ่น (มากกว่าร้อยละ 85) โดยเป็นผลเนื่องมาจากการยึดติดที่ดีระหว่างเส้นใยและพอลิพรอพิลีนเมทริกซ์ ซึ่งแสดงในภาพทางสัณฐานวิทยาของวัสดุคอมโพสิตที่เติมสารคู่ควบ MAPP นอกจากนี้วัสดุพอลิพรอพิลีนคอมโพสิตที่เติมด้วยเส้นใย K มีแนวโน้มของสมบัติความทนแรงดึงที่ดีกว่าวัสดุพอลิพรอพิลีนคอมโพสิตที่เติมด้วยเส้นใย C สำหรับผลกระทบของปริมาณของสารคู่ควบ MAPP พบว่า วัสดุคอมโพสิตที่เติมสารคู่ควบในปริมาณร้อยละ 0.8 โดยน้ำหนัก มีสมบัติความทนแรงดึงดีกว่าวัสดุคอมโพสิตที่เติมสารคู่ควบในปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก ในกรณีของผลกระทบของชนิดของสารคู่ควบ พบว่า สารคู่ควบชนิด A มีผลต่อมอดุลัสของสภาพยืดหยุ่นของวัสดุคอมโพสิตมากกว่าสารคู่ควบชนิดอื่น อย่างไรก็ตาม การเติมสารคู่ควบ MAPP ไม่มีผลต่อการสลายตัวทางความร้อนของวัสดุคอมโพสิตอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้วัสดุพอลิพรอพิลีนคอมโพสิตที่เติมเส้นใย K และสารคู่ควบ มีอุณหภูมิเริ่มการสลายตัวทางความร้อนสูงกว่าวัสดุพอลิพรอพิลีนคอมโพสิตที่เติมเส้นใย C และสารคู่ควบ นอกจากนี้อุณหภูมิการเกิดผลึก และอุณหภูมิการหลอมผลึกของวัสดุคอมโพสิตมีผลกระทบจากการเติมสารคู่ควบเพียงเล็กน้อยen_US
dc.description.abstractalternativeThis work involved cellulose fibres extraction from kenaf fibres by using the alkaline treatment and the pulp bleaching. The extracted cellulose fibres (K fibres) had the average diameter of approximately 9 microns, and the average diameter of the K fibres was also smaller than that of the commercial cellulose fibres extracted from cotton fibres (C fibres). Additionally, the K fibres had higher crystallinity and thermal decomposition temperatures than the C fibres. Both of the K fibres and the C fibres were used as fillers in the polypropylene composites. There were 3 types of maleic anhydride grafted polypropylene (MAPP) used as coupling agents in this work, and they included Aldrich PP-g-MA (A), Licocene PP MA 6252 GR (L), and SCONA TPPP 8112 FA (S). All of them also had the same chemical structures. For the thermal properties of the MAPP, it was found that the MAPP type L had the lowest onset thermal decomposition temperature, crystallisation temperature and melting temperature. However, the MAPP type A had the highest onset thermal decomposition temperature, whereas the MAPP type S had the highest crystallisation temperature and melting temperature. The polypropylene (PP) composite fabrication was two-roll milling followed by hot pressing. The loading levels of the K fibres and the C fibres were 1 and 5 wt%, and the MAPP loading levels were 0.8 and 1 wt%. The tensile properties, morphology and thermal properties of the composites were then examined. The addition of the K fibres and the C fibres had slight effects on the tensile properties and the thermal properties of the PP composites. The SEM micrographs of the PP/K fibre and PP/C fibre composites also show fibre imprint indicating poor fibre-matrix adhesion. For the MAPP addition, it improved the tensile properties of the PP/K fibre and PP/C fibre composites, especially the ultimate tensile strengths and the elastic moduli (more than 85%). This is attributed to good adhesion between the fibres and the PP matrix as show in the SEM micrographs of the composites filled with the MAPP. Additionally, the PP/K fibre composites tended to have better tensile properties than the PP/C fibre counterparts. For the effects of the MAPP contents, the composites filled with 0.8 wt% MAPP had better tensile properties than the composites filled with 1 wt% MAPP. In the case of the MAPP type effects, the MAPP type A had more effects on the elastic moduli of the composites than the other MAPP types. However, the MAPP loading did not affect the thermal decomposition of the composites significantly. The PP/K/MAPP composites also had higher onset thermal decomposition temperature than the PP/C/MAPP counterparts. In addition, the crystallisation temperatures and melting temperatures of the composites were marginally affected by the addition of the MAPP.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2561en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเส้นใยโพลิโพรพิลีนen_US
dc.subjectปอแก้วen_US
dc.titleผลกระทบของสารคู่ควบที่มีต่อสมบัติเชิงกลและสมบัติทางความร้อนของวัสดุพอลิพรอพิลีนคอมโพสิตเสริมแรงด้วยเส้นใยนาโนเซลลูโลสที่ได้จากเส้นใยปอแก้ว : รายงานการวิจัยen_US
dc.title.alternativeEffects of coupling agents on mechanical and thermal properties of polypropylene-matrix composites reinforced with cellulose nanofibres isolated from kenaf fibresen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Metal - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Material_Niphaphun Soatthiyanon_2018.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.