Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80674
Title: การศึกษาต้นแบบการเลี้ยงโคพีพอดเพื่อใช้เป็นอาหารมีชีวิตของสัตว์น้ำ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Study on copepod cultivation as life food source for aquaculture
Authors: พรเทพ พรรณรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
Subjects: โคพีพอด
คาลานอยดา
อาหารสัตว์
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการต่ออัตรารอดของคาลานอยด์โคพีพอดพบในบริเวณชายฝั่งด้านหน้าสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิตฯ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงคาลานอยด์โคพีพอด ในเบื้องต้นพบคาลานอยด์โคพีพอด 5 สกุล คือ Acartia spp., Acrocalanus spp., Calanopia spp., Pseudodiaptomus spp. และ Subeucalanus spp. โดยในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาพบโคพีพอดสกุล Acrocalanus เป็นสกุลเด่นที่นำมาคัดแยกมาเพื่อทำการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติเพื่อหาสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการอยู่รอดของโคพีพอด การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการต่ออัตรารอดของคาลานอยด์โคพีพอดในระยะเวลา 4 วัน พบว่า โคพีพอดจะมีอัตราการรอดเฉลี่ยสูงสุดเมื่อเลี้ยงที่อุณหภูมิ 25 °C (50.00±5.77%) และ 30 °C (23.33±8.82%) แต่เลี้ยงโคพีพอดที่อุณหภูมิ 35 °C ทั้งหมดจะตายภายใน 6 ชั่วโมง (p < 0.05) คาลานอยด์โคพีพอดที่นำมาทดลองเลี้ยงมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มค่อนข้างมาก โดยพบว่าโคพีพอดจะมีอัตรารอดสูงที่สุด (56.67±8.82%) เมื่อเลี้ยงในความเค็มของน้ำทะเลในธรรมชาติ (32-33 psu) แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงความเค็มเป็น 20 และ 30 psu โคพีพอดจะมีอัตรารอดเฉลี่ยเท่ากับ 6.76±3.33% และ 3.33±3.33% ตามลำดับ (p < 0.05) ส่วนที่ความเค็ม 10 psu โคพีพอดทั้งหมดจะตายภายใน 48 ชั่วโมง ในขณะที่ความเค็ม 0 และ 40 พบว่า โคพีพอดทั้งหมดจะตายภายใน 1 ชั่วโมง (p < 0.05) อัตรารอดของโคพีพอดไม่มีความแตกต่างกันเมื่อทดลองให้สาหร่ายชนิดต่างๆ กันเป็นอาหาร โดยพบว่า Isochrysis galbana และ Tetraselmis gracilis ทำให้โคพีพอดมีอัตรารอดเท่ากันคือ 73.33±3.33 % ในขณะที่เมื่อให้ Chaetoceros calcitrans โคพีพอดจะมีอัตรารอด 50.0±3.33% และเมื่อให้สาหร่ายรวมทั้ง 3 ชนิดรวมกันจะมีอัตรารอดเป็น 60.00±5.77% ส่วนโคพีพอดชุดควบคุมที่ไม่ให้อาหารจะมีอัตราการรอดเท่ากับ 46.67±3.33%
Other Abstract: The effect of selected environmental parameters on the survival rate of calanoid copepods was conducted in a laboratory scale at Sichang Marine Research and Training Station, Chonburi Province, Thailand. The cope pod genus Acrocolonus was sorted form 5 genera of calanoid copepods found in coastal area of Sichang Island including genus Acortio, Colonopio, Pseudodioptomus and Subeucolonus. This cope pod genus was subsequently used for later experiments. After 4 days, the higher survival rate was occurred in calanoid copepods reared at 25 °C(50.00±5.77%) and 30 °C (23.33±8.82%) while the copepod cannot reared at 35 °C( which all of them was dead within 6 hours (p < 0.05). Acrocolonus spp. is susceptible for salinity changing which the highest survival rate of 56.67±8.82% was observed in natural seawater (salinity 32-33 psu) whiles lower survival rate of 6.76±3.33% and 3.33±3.33% were detected in copepods cultured in 20 and 30 psu seawater (p < 0.05). In contrast, all of them were dead within 48 hours when exposed to brackish water (salinity 10 psu) and all of them were dead within 1 hour when exposed to freshwater (0 psu) or hyper-saline seawater (40 psu) (p < 0.05). No significant difference among different diets. Copepods fed by Isochrysis golbono or Tetroseimis grocilis showed an equally survival rate of 73.33±3.33 % higher than that of copepods fed with Choetoceros colcitrons which showed the survival rate of 50.0±3.33%. In addition, cope pods fed with mixed of 3 algae showed survival rate of 60.00±5.77% and the non feed group showed the survival rate of 46.67±3.33%.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80674
Type: Technical Report
Appears in Collections:Aqua - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porntep P_Res_2560.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.