Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/808
Title: สภาพบังคับของจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญ : ศึกษากรณีประเทศอังกฤษและประเทศไทย
Other Titles: Binding force of constitutional conventions in Thailand
Authors: ดวงกมล เจริญรุกข์
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: กฎหมายจารีตประเพณี -- ไทย
กฎหมายรัฐธรรมนูญ -- อังกฤษ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ -- ไทย
กฎหมายจารีตประเพณี -- อังกฤษ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยสถาบันที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญจะสมบูรณ์ได้นั้น มิได้อาศัยบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดบทบาทต่าง ๆ เป็นลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมีแนวทางปฏิบัติที่มิได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญอีก ซึ่งก็คือจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญหรือธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครอง และปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งๆ และมีความสำคัญทำให้การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทางการเมืองการปกครองที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญมีความเป็นไปอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยหากมีการฝ่าฝืนหรือละเมิดก็จะมีผลที่เป็นสภาพบังคับของจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นสภาพบังคับทางการเมือง และสภาพบังคับทางกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540จะมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบางฉบับที่ว่า {212040}เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณี การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งบทบัญญัติสั้นๆ นั้น ถือได้ว่ารัฐธรรมนูญยอมรับให้จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญยกระดับขึ้นมาเป็นกฎหมาย และมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย ทั้งนี้จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญที่ได้รับการกำหนดยอมรับไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นเป็นจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญเฉพาะในส่วนที่เป็นประเพณีการปกครองฯเท่านั้น เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและเพื่อประโยชน์ในการอุดช่องว่างทางรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ความมีผลหรือสภาพบังคับของจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญจึงขึ้นอยู่กับการยอมรับ ทั่วไปทางการเมือง ซึ่งจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญในตัวเองไม่มีศักดิ์ในทางกฎหมาย แต่อาจมีสภาพบังคับในทางการเมืองและผลที่กระทบต่อการบังคับใช้กฎหมาย จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญจะมีศักดิ์ในทางกฎหมายก็ต่อเมื่อ มีการนำจารีตประเพณีนั้นมาบัญญัติไว้เป็น ลายลักษณ์อักษรแล้วเท่านั้น แต่จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญในส่วนที่เป็นประเพณีการปกครองฯ ได้รับการบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และทำให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถนำประเพณีการปกครองฯ มาบังคับใช้แก่กรณีได้ และทำให้ประเพณีการปกครอง ฯ นั้นมีสภาพบังคับที่ชัดเจนและมีศักดิ์เป็นกฎหมายในลำดับเดียวกับรัฐธรรมนูญ
Other Abstract: According to the fulfillment of procedures pertaining to the constitution by institutions, which are under the constitution, it does not only depend on a literal provision of the constitution, but also has an approach which does not determine to literal provision. That approach is the constitutional conventions. It has evolution pertaining to politic history and other factors, which occur in each period. In addition, it plays on important role for the successful relationship among political organizations. If it has a violation, it will have a result related to the binding force of the constitutional conventions. It is about the politic binding force and law binding force. However, since the Constitution Act of the Kingdom of Thailand B.E. 2475 (1932) to the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 (1997), sometime it had the provision stated that "Whenever no provision under this constitution is applicable to any case, it shall be decided in accordance with the administrative practice in the democratic regime of government with the Kings as Head of the State" This concise provision refer that the constitution accepts the constitutional conventions for uplifting to be the law, and has the law enforcement. Anyhow, the constitutional conventions, which are accepted in the constitution, is only be the constitutional conventions in the section of the administrative practice. It is useful and guidance for fulfilling the gap in the constitution. Therefore, the binding force of the constitutional conventions is depended on the political acception. Moreover, the constitutional conventions do not have the hierarchy of laws. Conversely, it probably has the binding force of politic and can affect to the binding force of law. The constitutional conventions will have the hierarchy of laws if the constitutional conventions are enacted to written laws. Furthermore, the constitutional conventions in the section of the administrative practice are enacted in the constitution, and it can support the constitutional courtcan apply administrative practice to any case. It can make each the administrative practice has clearly the binding force and has the hierarchy of laws in the same levels of the constitution.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/808
ISBN: 9741705077
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
DoungkamolCha.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.