Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80965
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเนาวนิตย์ สงคราม-
dc.contributor.authorปาริชาต จารุดิลกกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-11-03T02:23:50Z-
dc.date.available2022-11-03T02:23:50Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80965-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทย 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้การสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทย โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 คน ระยะเวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์ (15 คาบเรียน) โดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling method) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล และแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยและแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)  เนื้อหาวรรณคดีไทย 2) กิจกรรมการเรียนรู้ 3) ใบงาน 4) การประเมินผล 5) แหล่งการเรียนรู้และเครื่องมือ โดยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่  1) ขั้นวางแผนระดมความคิด 2) ขั้นอ่านเอาเรื่อง 3) ขั้นวิเคราะห์ 4) ขั้นวิพากษ์วิจารณ์ ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (t-test = -9.128)-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to develop a literature teaching model using SQ4R teaching and digital storytelling to enhance student's abilities in Thai literature criticism, 2) to study the results of using a literature teaching model using SQ4R teaching and digital storytelling. The participants in the model experiment were 40  Matthayomsuksa 1/2 secondary school students. They were selected using the purposive sampling method. The experiment period was five weeks (15 class periods). This research consisted of a one group pretest–posttest design. The research instruments used were model evaluation form and a lesson plan. The data collection instruments comprised of a Thai literature criticism test, and a questionnaire of student's opinions toward the model. The data were analyzed using mean, standard deviation and t-test. The result showed that a literature teaching model using SQ4R teaching and digital storytelling to enhance secondary school student’s abilities in Thai literature criticism required five components: 1) literature content, 2) learning activities, 3) worksheets 4) test and 5) learning resources and learning tools. The learning process consisted of 4 steps: 1) brainstorming planning 2) reading comprehension 3) analytical, and 4) critical. The result of the experiment using the teaching model was that student's average post-test score of ability to criticism of Thai literature was significantly higher than their average pre-test score at .05 (t-test = -9.12)-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.452-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleการพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา-
dc.title.alternativeDevelopment of a literature teaching model using the SQ4R teaching method and digital storytelling to enhance secondary school students’ abilities in Thai literature criticism-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.452-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380103227.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.