Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81031
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติมา วัฒนวิจิตรกุล-
dc.contributor.advisorอลิศรา แสงวิรุณ สุจริต-
dc.contributor.authorมนสิชา มาสิง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-11-03T02:44:24Z-
dc.date.available2022-11-03T02:44:24Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81031-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของขนาดยากลุ่มยาปิดกั้นตัวรับชนิดเบต้า ได้แก่ ไบโซโปรลอล และคาร์วีไดลอล ในขนาดยาสูง (ร้อยละ 50 ถึง 100 ของขนาดยาเป้าหมาย) กลาง (ร้อยละ 25 ถึง 50 ของขนาดยาเป้าหมาย) และต่ำ (น้อยกว่าร้อยละ 25 ของขนาดยาเป้าหมาย) ต่อผลลัพธ์การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ  ผลลัพธ์รวมของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากทุกสาเหตุและผลลัพธ์ในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังในระยะเวลา 1 ปี    วิธีการดำเนินการ: การศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์จากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง (ICD10: I500) ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และได้รับยาปิดกั้นตัวรับชนิดเบต้า ในขนาดคงที่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 สัปดาห์ติดตามผลผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 1 ปี  ผลการวิจัย:  จากผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์ 542 ราย มีเพียงร้อยละ 3.3 ที่ได้รับยาปิดกั้นเบต้าในขนาดยาเป้าหมาย  ส่วนใหญ่ได้รับยาปิดกั้นตัวรับชนิดเบต้าในขนาดต่ำ (286 รายหรือร้อยละ 52.7)    พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มปิดกั้นตัวรับชนิดเบต้าในขนาดสูง (87 รายหรือร้อยละ 16.1) เกิดผลลัพธ์รวมการเสียชีวิตและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากทุกสาเหตุในระยะเวลา 1 ปี น้อยกว่ากลุ่มขนาดยาต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HR=0.63, 95%CI 0.41–0.95, p=0.03)  กลุ่มขนาดยาสูงมีแนวโน้มเกิดผลลัพธ์การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุและผลลัพธ์การเข้ารับการรักษาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่ากลุ่มขนาดยาต่ำเช่นเดียวกัน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  สรุป: ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่ได้รับยากลุ่มยาปิดกั้นเบต้าในขนาดยาสูงเกิดผลลัพธ์รวมการเสียชีวิตและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากทุกสาเหตุต่ำกว่าที่ได้รับยาในขนาดยาต่ำ ดังนั้นยากลุ่มปิดกั้นเบต้าควรได้รับการปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นจนถึงขนาดยาเป้าหมายหรือขนาดยาสูงสุดที่สามารถทนได้หากไม่มีข้อห้ามใช้ เพื่อประสิทธิผลสูงสุดจากยา-
dc.description.abstractalternativeObjective: To compare effectiveness of high (≥ 50 - 100% of target dose), medium (25 - < 50% of target dose) and low dose (< 25% of target dose) beta-blocker drugs (carvedilol and bisoprolol) on 1-year all-cause mortality, composite outcome of all-cause mortality and all-cause hospitalization and cardiovascular hospitalization outcome in chronic heart failure patients    Methods: Retrospective cohort study, collecting data from medical records in chronic heart failure patients (ICD10: I500) at the outpatient department in Maharaj Nakhonsithammarat hospital from 1st January 2013 to 31st December 2018, with 1-year monitoring.  Results: Of the 542 included patients, only 3.3% reached target dose of beta blockers. A majority of patients (286 patients, 52.7%) received low dose of beta blockers. The high dose group (87 patients, 16.1%) showed a significantly lower composite outcome of 1-year all-cause mortality and hospitalization than the low dose group (HR=0.63, 95%CI 0.41–0.95, p=0.03). Similarly, 1-year all-cause mortality and cardiovascular hospitalization tended to be lower in the high dose group compared with the low dose group but they were not statistically significant.  Conclusion: Chronic heart failure patients recieving high dose beta-blockers had composite outcome of 1-year all-cause mortality and hospitalization lower than those recieving low dose. Beta blocker dose should be up-titrated to a maximum tolerated dose or the target dose, if not contraindicated, for maximum effectiveness. -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.633-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleประสิทธิผลของยากลุ่มปิดกั้นตัวรับชนิดเบต้าในขนาด สูง กลาง และต่ำ ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง  -
dc.title.alternativeEffectiveness of high, medium and low dose beta-blocker drugs in chronic heart failure patients-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิก-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.633-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6176138333.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.