Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81308
Title: การศึกษาการเลี้ยงเพรียงทรายPerinereis nuntiaร่วมกับฮาร์แพคทิคอยโคพีพอด(Harpacticoid copepod)ในระบบการเลี้ยงเชิงพาณิชย์(ระยะที่ 1) :ชีววิทยาและการเพาะเลี้ยงฮาร์แพคทิคอยโคพีพอด : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Integrated Cultivation of Sand worm (Perinereis nuntia) and Harpacticoid Copepod in Commercial Culture System (1st phase): Biology and Cultivation of Harpacticoid Copepod
Authors: พรเทพ พรรณรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
Subjects: เพรียงทราย -- การเลี้ยง
สัตว์หน้าดิน
Sand worm
Benthic animals
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเพาะเลี้ยงฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดเพื่อพัฒนาสำหรับการเลี้ยงร่วมกับเพรียงทราย และ ศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการที่มีความสำคัญต่ออัตรารอดของฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดที่อาศัยอยู่กับ สาหร่ายทะเลในบริเวณชายฝั่งด้านหน้าสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิตฯ เกาะสีชัง จังหวัด ชลบุรี พบฮาร์แพคทิคอยโคพีพอด 4 สกุล 6 ชนิด 4 วงศ์ โดยพบฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดในสกุล Tigriopus และในวงศ์ Laophontidae เป็นกลุ่มเด่น เมื่อทำการเพาะเลี้ยงฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดแบบชนิดเดียว (mono-species) ในห้องปฏิบัติการสามารถเพาะเลี้ยงได้จนถึงระยะโคพีโพดิด ในขณะที่เมื่อทดลองเลี้ยงแบบ คละชนิด (multi-species) โดยใส่ทรายและสาหร่ายทะเลให้สภาพแวดล้อมในตู้เลี้ยงคล้ายกับสภาพใน ธรรมชาติพบว่า สามารถเลี้ยงฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดจนครบวงชีวิตได้โดยสามารถพบตัวอ่อนระยะนอเพลียส และโคพีโพดิด รวมทั้งยังพบโคพีพอดเพศเมียที่มีถุงไข่เพิ่มจำนวนขึ้นในตู้เลี้ยง การศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการที่มีความสำคัญต่ออัตรารอดของฮาร์แพคทิคอยโคพีพอด เป็นระยะเวลา 7 วัน พบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลองฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดมีอัตราการรอดเฉลี่ยสูงสุดเมื่อเลี้ยงที่ อุณหภูมิ 30 °C (46.7±10.1 %) รองลงมาคือ ที่อุณหภูมิ 25 °C (21.7±18.9 %) และฮาร์แพคทิคอยโคพีพอด จะตายทั้งหมดเมื่อเลี้ยงที่อุณหภูมิ 35 °C เมื่อทดลองเลี้ยงฮาร์แพคทิคอยด์โคพีพอดที่ความเค็มต่างๆ กัน พบว่า ฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดสามารถดำรงชีวิตอยู่ในความเค็มตั้งแต่ 10-40 PSU แต่ความเค็มที่ทำให้อัตรา รอดเฉลี่ยของฮาร์แพคทิคอยด์โคพีพอดมีค่าสูงสุดคือ 30 PSU (42.8±8.6 %) รองลงมาคือ ความเค็ม 20, 40 และ 10 PSU โดยมีอัตรารอดเท่ากับ 35.8±16.3 %, 33.3±12.6 % และ 26.7±23.1 % ตามลำดับ และ พบว่า ฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดมากกว่า 60% จะตายภายใน 1 ชั่วโมงเมื่อทดลองเลี้ยงที่ความเค็ม 0 PSU และ จะตายทั้งหมดภายใน 3 วัน เมื่อให้สาหร่ายขนาดเล็ก 3 ชนิดคือ Isochrysis galbana, Chaetoceros calcitrans และ Tetraselmis gracilis ร่วมกันจะทำให้ฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดมีอัตรารอดเฉลี่ยสูงที่สุด (44.4±11.7 %) และสูงกว่าการให้สาหร่ายเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นอาหาร เมื่อเลี้ยงฮาร์แพคทิคอยโคพีพอด ในภาชนะที่มีตะกอนต่างชนิดกันคือ ทรายหยาบ ทรายละเอียด ทรายเทียม (Vermiculite) ทรายปนโคลนและ พื้นโล่งไม่มีตะกอนนั้นไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P-value>0.05) ของอัตรารอดของฮาร์แพคทิคอย โคพีพอด แต่อย่างไรก็ตามฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดน่าจะชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นพื้นทะเลที่มีอนุภาค ตะกอนขนาดเล็กเนื่องจากพบว่าฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดที่เลี้ยงในภาชนะที่มีทรายปนโคลนและทรายละเอียด อยู่จะมีอัตราการรอดสูงกว่าภาชนะอื่นๆ โดยพบอัตรารอดเฉลี่ยเท่ากับ 76.11±2.36 % และ 68.33±7.07 % ตามลำดับ ความหนาแน่นที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดคือประมาณ 100-500 ตัว/ลิตร ซึ่ง จะทำให้ฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดมีอัตรารอดเฉลี่ยสูงกว่า 50% เมื่อสิ้นสุดการทดลอง นอกจากนี้ เมื่อทดลอง เลี้ยงฮาร์แพคทิคอยโคพีพอดร่วมกับเพรียงทรายพบว่า เพรียงทรายมีน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อให้ อาหารกุ้งสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวเล็กน้อย
Other Abstract: To establish an integrated cultivation system of harpacticoid copepods and sand worm (Perinereis nuntia), the biology of harpacticoid copepods with emphasis on environmental factors affecting survival of the copepods in a laboratory was conducted at Sichang Marine Research and Training Station, Chonburi Province, Thailand. Among six species of harpacticoid copepods from 4 genera, 4 families collected from macroalgae Padina sp. and Amphiroa sp., the copepod Tigriopus and harpacticoid copepod from family Laophontidae were the dominant species. Under the mono-species culture, egg-bearing female copepod grew and produced larvae which lived up to the copepodid stage. The multi-species of copepods cultured in a small aquarium with fine sand and seaweed could grow to complete life cycle as indicated by the presence of nauplii, copepodids and newly egg-bearing female copepods. Survival rates of harpacticoid copepods in the laboratory scale were determined under various conditions of temperature, salinity, food type, grain size and initial density. After 7 days of the experiments, harpacticoid copepods rearing at 30 °C showed the highest survival rate of 46.7±10.1 % followed by the copepods cultivated at 25 °C (21.7±18.9 %). All harpacticoid copepods could not survive when cultivated at 35 °C toward the end of the experiment. Our harpacticoid copepods can survive in brackish water to hyper-saline water between 10 PSU and 40 PSU. However, they showed the highest survival rate (42.8±8.6 %) in 30 PSU seawater and the survival rates of 35.8±16.3 %, 33.3±12.6 % and 26.7±23.1 % were recorded from copepods cultured in 20, 40 and 10 PSU seawater, respectively. Moreover, over 60 % of copepods were dead within 1 hour in freshwater (0 PSU) and all of them were dead within 3 days. Harpacticoid copepods fed by combination of microalgae including Isochrysis galbana, Chaetoceros calcitrans and Tetraselmis gracilis showed high survival rate (44.4±11.7%) in comparison by the treatments fed with mono-species of algae. There was no significantly different (P-value>0.05) in survival rate of copepods rearing in coarse sand, fine sand, vermiculite, sandy clay and without substrate conditions. However, harpacticoid copepod showed preference for fine grain particle since the survival rates of 76.11±2.36 % and 68.33±7.07 % were obtained from the copepods reared in sandy clay and fine sand substrate, respectively. An initial culture density of 100-500 individuals/Litre was the optimal condition for culture of harpacticoid copepods under laboratory scale where the resulting survival rate of more than 50 % was noticed toward the end of the experiment. In addition, co-culture of sand worms and harpacticoid copepods lead to more increased in body weight of sand worm compared to that fed by only commercial food.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81308
Type: Technical Report
Appears in Collections:Aqua - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porntep P_Res_2557.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.