Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81584
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมพรนุช ตันศรีสุข-
dc.contributor.authorสมชาย จำปาทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-02-03T04:03:20Z-
dc.date.available2023-02-03T04:03:20Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81584-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อาบัติในภิกขุปาติโมกข์ตามหลักทฤษฎีทางทัณฑวิทยา 2 ทฤษฎี  ได้แก่  ทฤษฎีข่มขู่ยับยั้งและทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู  และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอาบัติและภาคีทั้ง 5 อันได้แก่ ชุมชนสงฆ์ ตัวพระภิกษุ เพื่อนพระภิกษุ คฤหัสถ์นอกคณะสงฆ์ และพระศาสนาตามวัตถุประสงค์ของการบัญญัติพระวินัย  10 ประการ  โดยศึกษาจากพระวินัยปิฎกและอรรถกถา   ผลการศึกษาพบว่า การลงโทษตามพระวินัยคือการออกจากอาบัติ 3 ลักษณะ อันได้แก่  การพ้นจากสภาพความเป็นพระภิกษุ, การประพฤติวุฏฐานวิธี, และการแสดงอาบัติ  สอดคล้องกับหลักการของทฤษฎีทั้งสองโดยที่แยกจากกันไม่ได้    การลงโทษตามทฤษฎีข่มขู่ยับยั้งถือว่าเป็นการตัดโอกาส,  เป็นความยุ่งยากและความลำบาก, และการทำให้อับอายตามลำดับ ในขณะที่ในมุมมองของทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูถือว่าเป็นการพ้นจากภิกษุภาวะเพื่อดำรงอยู่ในสถานะอื่นที่เหมาะสม,  การแยกตัวผู้ต้องอาบัติออกไปจากพระสงฆ์เพื่ออบรมและขัดเกลาจิตใจ, และ การสำนึกผิด อาบัติอาจพิจารณาให้เป็นทฤษฎีใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสำนึกของผู้ต้องอาบัติเป็นสำคัญ  อาบัติเป็นโทษที่มุ่งข่มขู่พระภิกษุผู้ไม่ละอายให้อยู่ในกฎเกณฑ์ตลอดเวลา  ในขณะเดียวกัน  อาบัติก็เป็นวิธีการที่เอื้อประโยชน์ต่อพระภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชนจนถึงพระอรหันต์ให้ดำรงตนสอดคล้องกับธรรม  ภาคีทั้ง 5 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากอาบัติมีบทบาทในการควบคุมความสำรวมในสิกขาบทและในอินทรีย์ของพระภิกษุ  การศึกษาแสดงว่า  การออกจากอาบัติเป็นการแก้ไขตนเอง  เมื่อพระภิกษุต้องอาบัติ  ต้องรีบออกจากอาบัติ   -
dc.description.abstractalternativeThe research aims to study Apatti, the monastic punishment, in the Vinaya and its commentary from the perspective of penology, as well as to analyze the relationship between the monastic penalty and the five parts of Buddhism, i.e. the monastic community, the monk, other members, laypeople and the religion, according to the Buddha’s objectives on legislation of monastic orders. Two theories in penology, deterrence theory and rehabilitative theory, are applied in the study. It is found that there are three categories of monastic punishment—expulsion, probation, and confession. Three of which agree with the two theories inseparably.  From the perspective of deterrence theory, the punishments are considered as forever, temporary exclusion from the monastic community, and self-pillory, while from the perspective of rehabilitative theory, the punishments are expulsion from monkhood to remain in other status, exclusion for correction, and expression of penitence, respectively. Apatti can be either deterrence or rehabilitation for a monk.  It is deterrence for those who are shameless, while it is rehabilitation for those who are well-mannered up to attained the spiritual goal. The five parts of Buddhism play an important role in the prevention of wrongdoing. The study shows that the punishment, except expulsion, is the chance for self-correction. Having committed an offense, a monk should accept it and join the process of correction as soon as he realizes it.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.716-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleอาบัติในมุมมองของทฤษฎีทางทัณฑวิทยา-
dc.title.alternativeApatti from the perspective of penology-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineภาษาบาลี-สันสกฤต และพุทธศาสน์ศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.716-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6180169322.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.