Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81712
Title: การพัฒนาระบบทดสอบออนไลน์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ด้วยแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่
Other Titles: Development of online testing system for diagnosing mathematics misconceptions using the new four-tier diagnostic test
Authors: วีรวัฒน์ โอษฐงาม
Advisors: ณภัทร ชัยมงคล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) พัฒนาระบบทดสอบออนไลน์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ และ 4) ตรวจสอบคุณภาพระบบทดสอบออนไลน์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการทดสอบออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ และระยะที่ 3 ประเมินคุณภาพระบบการทดสอบออนไลน์เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ ตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 60 คน สำหรับใช้ในการทดลองแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ แบบประเมินการใช้การอินเทอร์เฟซของระบบทดสอบออนไลน์  และแบบประเมินประสบการณ์ผู้ใช้งานระบบการทดสอบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความยาก อำนาจจำแนก การวิเคราะห์ความเที่ยง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและความตรงตามเกณฑ์สัมพัทธ์ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วีของคราเมอร์   ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัย สี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก (r=0.976) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   2) ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์ด้วยเทคนิคการคิดออกเสียงไม่แตกต่างกัน 3) ผลการพัฒนาระบบฯ พบว่า กระบวนการทำงานของระบบประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การลงทะเบียนเข้าสู่ระบบทดสอบ 2) การดำเนินการทดสอบ และ 3) การรายงานผลการทดสอบ 4) ผลประเมินการใช้งานอินเทอร์เฟซของระบบทดสอบออนไลน์ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าระบบมีความเหมาะสมทั้ง 4 ด้าน โดยด้านที่มีผลการประเมินสูงที่สุดคือ ด้านคู่มือการใช้ระบบมีบทนำที่อธิบายความเป็นมาอย่างชัดเจน สำหรับการประเมินประสบการณ์ผู้ใช้งานระบบการทดสอบออนไลน์ พบว่า รายการที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ มีการออกแบบระบบให้มีความสวยงามและน่าสนใจ
Other Abstract: The objective of this research was to 1) compare diagnostic results of the three-tier and the new four-tier diagnostic test in diagnosing mathematic misconception, 2) analyze the congruence among diagnostic results from the three-tier, the new four-tier diagnostic test and think-aloud interview, 3) develop and, 4) validate the online testing system for diagnosing mathematic misconception. The development was separated into three phases: developing and validating the psychometric properties of the three-tier and the new four-tier diagnostic tests for diagnosing mathematic misconception; developing the online testing system for the new four-tier mathematic misconception diagnostic test; and, validating the online testing system for diagnosing mathematic misconception. The participants in this new four-tier diagnostic testing were 60 eleventh-grade students. The research instruments were the interview form, the three-tier diagnostic test, the new four-tier diagnostic test, the user’s interface online testing system form, and the user’s experience form. The data were analyzed using descriptive statistics, a difficulty index, a discrimination index, reliability, Pearson’s correlation, and criterion-related validity. The research findings were as follows: 1. The results of the study showed both a high correlation level of Pearson correlation coefficient (r=0.976) between the three-tier and the new four-tier diagnostic test statistics significant at the .01 level. 2. The correlation between the diagnostic results of the new four-tier diagnostic test and the think-aloud interview was not different to the results of the three-tier diagnostic and the think-aloud interview. 3. The system development results indicated that there were three stages to the operating system 1) registering for the testing system 2) taking the test and 3) reporting the test results. 4. The user’s interface online testing system results from the experts showed that the system was adequate in all four aspects, with the highest evaluation for the clear explicitly of the system manual. The user experience survey also revealed that the users were most satisfied with the friendly and transparent design of the system.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81712
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.794
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.794
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380160027.pdf6.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.