Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/817
Title: การนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
Other Titles: Proof of damages in tradmark infringement
Authors: บรรเทิง สุธรรมพร
Advisors: ธัชชัย ศุภผลศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ละเมิด
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิจัยถึงบทบัญญัติทางกฎหมายในเรื่องการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเครื่องหมายการค้าของไทยโดยข้อมูลที่นำมาเป็นฐานในการศึกษาวิจัยนี้ได้มาจาก บทบัญญัติทางกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ เอกสารสัมมนา และคำพิพากษาของศาลต่างๆที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับเรื่องการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในคดีละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าทั้งของไทยและต่างประเทศเป็นสำคัญ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าของไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2543) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าโดยตรงไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการกระทำอันเป็นละเมิด ค่าเสียหายประเภทต่างๆรวมถึงวิธีการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายไว้นั้น มีผลทำให้ศาลและคู่ความในคดีไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอสำหรับใช้เป็นแนวทางในการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายได้อย่างเหมาะสมกับข้อพิพาทในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าขึ้น ซึ่งประเด็นเรื่องเดียวกันนี้ของกฎหมายต่างประเทศจะมีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่มีความชัดเจนและสมบูรณ์มากกว่าของไทย ดังนั้น ประเทศไทยจึงอาจศึกษาและนำเอาหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างประเทศดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขกฎหมายของไทยในเรื่องเดียวกันนี้ต่อไปได้ วิทยานิพนธ์นี้มีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2543)โดยควรบัญญัติให้มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในเรื่อง (ก) การกระทำอันเป็นการละเมิด (ข) ประเภทหรือลักษณะของค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการทำละเมิด (ค) หลักเกณฑ์และวิธีการนำสืบพิสูจน์ค่าเสียหายในแต่ละประเภท (ง) สิทธิของจำเลยในการนำสืบหักล้าง และ(จ) อำนาจหน้าที่ของศาลในการรับฟังพยานและการพิพากษาคดี
Other Abstract: The purpose of this research is a comparative study on relevant legislative provisions on proof of damages in trademark infringement in Thailand and foreign countries so as to propose the directions the law should be improved and developed. The research is based mostly on Thai and foreign existing legislations and all sources of academic papers and articles as well as various court precedents in relation to the proof of damages in trademark infringement cases. The research shows that the absence of a clear identification or definition of what is to be considered an infringing act, the absence of categorization of damages and the absence of a clear method for proof of damages in the current Trademark Act B.E. 2534 (as amended 2543...) have resulted in a lack of clear and suitable criteria for both the parties to prove damages and the court to grant damages. Unlike the Thai law, all these requisites seem to have long been in existence in relevant legislation of many other foreign countries and Thailand couldhave thus studied it as a precedent and see if it should be applied to the Thai law as appropriate. This study has proposed an amendment of the present Trademark Act by which (a) infringing acts; (b) categories of damages; (c) criteria for proof of damages; (d) the defendant's right to defend against the plaintiff's evidences and (e) the extent to which the court can exercise its discretion should be clearly addressed.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/817
ISBN: 9740307515
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bantherng.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.