Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81851
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภลัคน์ ลวดลาย-
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ เกษมสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2023-02-03T05:15:48Z-
dc.date.available2023-02-03T05:15:48Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81851-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกสำหรับเด็กที่มีภาวะสมองพิการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่กลุ่มเด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อน อายุ 7-12 ปี จำนวน 35 คน แบ่งเป็นชาย 21 คน หญิง 14 คน และกลุ่มเด็กปกติ อายุ 7-12 ปี จำนวน 35 คน แบ่งเป็นชาย 18 คน หญิง 17 คน ผู้วิจัยนำข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ข้อมูลผ่านสถิติพรรณาและตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยวิธีการทดสอบแบบคู่ขนาน (Parallel Form Method) เพื่อตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์ของความสมมูล (Coefficient of Equivalence) และความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (Inter-rater) ด้วยสัมประสิทธิ์แคปปา (Kappa coefficient) และตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบประเมินกับจุดประสงค์ (Index of Item-Objective Congruence หรือ IOC) และตรวจสอบความตรงเชิงสภาพด้วยวิธีการใช้กลุ่มที่แตกต่างกัน (Known-Group Technique) ผลการวิจัยพบว่าจากการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีกลุ่มที่แตกต่างกัน เด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อนมีคะแนนน้อยกว่าเด็กปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (Mean = 3.16, 1.48 t = 3.964 p < .001  ในการทดสอบครั้งที่ 1 และ Mean = 3.33, 1.30 t = 4.260 p < .001 ในการทดสอบครั้งที่ 2) ส่วนการประเมินความตรง แบบประเมินมีค่าดัชนีความสอดคคล้องกับจุดประสงค์อยู่ที่ 1.0 มีความตรงเชิงเนื้อหา ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินด้วยสัมประสิทธิ์แคปปาในการทดสอบแต่ละครั้งอยู่ที่ระดับ 0.912 และ 0.941 ในเด็กที่มีภาวะสมองพิการ 0.823 และ 0.911 ในเด็กปกติ อย่างไรก็ตามจากการวิจัยค้นพบว่าการเรียนรู้และปัญหาด้านความใส่ใจของกลุ่มตัวอย่างส่งผลกระทบต่อคะแนนของการประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกในแต่ละครั้งในการทดสอบแบบคู่ขนาน ส่งผลให้ค่าความเที่ยงในการทดสอบในเด็กที่มีภาวะสมองพิการอยู่ที่ระดับ 0.85 และเด็กปกติอยู่ที่ระดับ 0.71 สามารถสรุปได้ว่าแบบประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกมีความสอดคล้องกันระหว่างผู้ประเมิน มีความตรงเพียงพอที่จะใช้ในการประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกในเด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อน แต่ยังพบข้อจำกัดด้านการเรียนรู้และความใส่ใจซึ่งส่งผลต่อการทดสอบ ทั้งนี้การวิจัยในอนาคตควรจะมีการทดสอบหาอำนาจจำแนกของคะแนน เกณฑ์คะแนนผ่านของเด็กที่มีภาวะสมองพิการและเปรียบเทียบกับเด็กปกติ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to develop and validate a tool for measuring divided attention for children with cerebral palsy. The participants consisted of 35 children with spastic diplegia cerebral palsy and 35 normal children aged between 7-12 years old. 18 boys and 17 girls were normal children, whereas 21 boys and 14 girls had spastic diplegia cerebral palsy. The test's validity and reliability were examined by the Index of Item-Objective Congruence (IOC) analysis, the known-group methodology, the coefficient of equivalence from the parallel form method, and the kappa coefficient analysis from inter-rater reliability. The research results indicated that children with cerebral palsy showed significantly lower scores than normal children (Mean = 3.16, 1.48 t = 3.964 p < .001 in test 1 and Mean = 3.33, 1.30 t = 4.260 p < .001 in test 2). For measure validation, the Index of Item-Objective Congruence (IOC) was 1.00. This score shows that the measure has content validity. Further, the kappa coefficient from inter-rater reliability was 0.912 and 0.941 in children with cerebral palsy, 0.823 and 0.911 in normal children. However, Learning and attention problems were found to affect scores for each divided attention test in a parallel form method. This cause reliability from parallel form method was 0.85 in cerebral palsy children and 0.71 in normal children. It can be inferred that this divided attention measure has inter-rater reliability and validity to evaluate divided attention in cerebral palsy children. Further studies will need to analysis of the scoring criteria for children with cerebral palsy and a comparison to normal children is still required.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.545-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationPsychology-
dc.titleการพัฒนาและตรวจสอบแบบประเมินความใส่ใจแบบแบ่งแยกในเด็กที่มีภาวะสมองพิการแบบแข็งเกร็งครึ่งท่อน-
dc.title.alternativeDevelopment and validation of divided attention test measurement for children with spastic diplegia cerebral palsy-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineจิตวิทยา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.545-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270010738.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.