Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81959
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฏฐา ทองจุล-
dc.contributor.authorวาสนา โตเลี้ยง-
dc.contributor.authorสิตานัน ธิติประเสริฐ-
dc.contributor.authorจิราภรณ์ พิลึก-
dc.contributor.authorปภัสรา แสงธนู-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยเทคโลโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-03-02T09:38:14Z-
dc.date.available2023-03-02T09:38:14Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81959-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกโดยวิธีทางชีวภาพ สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านศัลยกรรมตกแต่งเพื่อแก้ไขความพิการหรือบกพร่องบนใบหน้า เป็นการปรับปรุงกระบวนการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการขยายโอกาสและทางเลือกในการรักษา กรดไฮยาลูโรนิกเป็นส่วนประกอบหลักที่พบได้ในเนื้อเยื่อของร่างกาย ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติที่เมหาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านศัลยกรรมแตกต่าง และเป็นสารพอลิเมอร์ชีวภาพที่สกัดได้จากเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตชั้นสูงและการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ เนื่องด้วยความซับซ้อนของเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจึงทำให้มีข้อจำกัดและต้นทุนสูงในการสกัดกรดไฮยาลูโรนิกให้ได้ปริมาณมาก ดังนั้นเพื่อให้ได้กรดไฮยาลูโรนิกในปริมาณมาก รวมถึงต้นทุนที่ใช้ในการผลิตต่ำ การผลิตกรดไฮยาลูโรนิกผ่านกระบวนการหมักจึงเป็นที่สนใจ ในงานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกโดยจุลินทรีย์ Streptococcus zooepidermicus UN-7 ในการทดลองทำการแปรปริมาณอาหารแหล่งคาร์บอนไนโตรเจนและความเร็วรอบที่ใช้ในระดับขวดเขย่า โดยเปรียบเทียบปริมาณของกรดไฮยาลูโรนิกที่ภาวะต่าง ๆ จากการวิจัยพบว่าภาวะการหมักในระดับขวดเขย่าที่สามารถผลิตกรดไฮยาลูโรนิกได้สูงคือ ความเข้มข้นของแหล่งคาร์บอนซูโครสที่ 3 กรัมต่อลิตร ความเข้มข้นของแหล่งไนโตรเจนแลกติกเคซีนที่ 10 กรัมต่อลิตรและความเร็วรอบที่ใช้ในการเขย่าเท่ากับ 300 รอบต่อนาที เมื่อได้ภาวะที่เหมาะในระดับขวดเขย่าจึงทำการวิจัยเพื่อเพิ่มปริมาณของกรดไฮยาลูโรนิกในระดับถังปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 5 ลิตร โดยแปรปัจจัยทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ ได้แก่ อัตราการปั่นกวน อัตราการให้อากาศ การเติมสารตั้งต้นและติดตามค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทออกซิเจน และพบว่าอัตราการปั่นกวนส่งผลต่อการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกเช่นกันen_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2560en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกรดไฮยาลูโรนิคen_US
dc.titleการปรับปรุงกระบวนการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกโดยวิธีการทางชีวภาพ เพื่อการนำไปใช้ในงานศัลยกรรมตกแต่ง : รายงานการวิจัยen_US
dc.title.alternativeImproved hyaluronic acid production via bioprocess for correction surgeryen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Biotec - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttha_Th_Res_2561.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)20.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.