Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81962
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุกัญญา แช่มช้อย | - |
dc.contributor.author | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ | - |
dc.contributor.author | ประกอบ กรณีกิจ | - |
dc.contributor.author | ชญาพิมพ์ อุสาโห | - |
dc.contributor.author | พงษ์ลิขิต เพชรผล | - |
dc.contributor.author | ณภัทร ชัยมงคล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-03-10T09:47:07Z | - |
dc.date.available | 2023-03-10T09:47:07Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81962 | - |
dc.description.abstract | การเปลี่ยนแปลงของโลกแบบพลิกโฉม (Disruptive Change) ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศและการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพคนอย่างยิ่งดังยุทธศาสตร์ชาติ 20 การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและออกแบบวิสัยทัศน์การศึกษาไทยและคุณภาพคนไทยที่พึงประสงค์ในปี 2040 2) ศึกษาและออกแบบระบบการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 3) ออกแบบนโยบายพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 และ 4) ออกแบบเครื่องมือการนำนโยบายสู่การปฏิบัติและการประเมินผลนโยบายพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงออกแบบ (Design Research) ประกอบด้วย 3 ระยะ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การสนทนากลุ่ม และการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโรงเรียนที่เป็นกรณีศึกษาจำนวน 4 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสัยทัศน์การศึกษาไทยในปี 2040 คือ ระบบการศึกษาไทย เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้เรียนให้มีความสุขอย่างมีคุณค่า สามารถสร้างสรรค์สังคมและเศรษฐกิจใหม่ที่พึงประสงค์ และคุณภาพคนไทยที่พึงประสงค์ในปี 2040 ประกอบด้วยคุณภาพทั่วไปและคุณภาพเฉพาะ 2) ระบบการเรียนรู้ที่ประสงค์ในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 ประกอบด้วย ผลลัพธ์การเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ และการประเมินการเรียนรู้ 3) นโยบายระบบการเรียนรู้ใหม่ คือ พลิกโฉมระบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ชีวิตทางสังคมและเศรษฐกิจใหม่ที่มีความสุขอย่างมีคุณค่า และ 4) เครื่องมือการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย การสั่งการ การรณรงค์ การสร้างขีดความสามารถ และการเปลี่ยนแปลงระบบ | en_US |
dc.description.abstractalternative | In the disruptive world, preparing young people for future global changes is a crucial role for a country. In line with the 20–year National Strategy of Thailand, a policy design on transforming learning systems is significant. The objectives of this research were to 1) study and design a Thai education vision, Thai people’s qualities; 2) study and design a desired learning system; 3) study and design a policy on transforming the learning system and 4) to design policy implementation tools that will be responsive to the changing world of the future in 2040 using a five-step design thinking process as a research method that was carried out in three main phases. This study employed a qualitative approach. Purposive sampling was used for selecting 30 participants for the interview using the semi-structured interview and 15 participants for a focus group discussion. Observation was conducted for a field study at four case-study schools. The results indicated that a Thai education vision was that the “Thai education system is the leader in changing the lives of learners to be happy and valued, creating a new desired economy and society.” Thai people’s qualities consisted of general and specific learning outcomes. A desired learning system and policy on that learning system focused on creating a new social and economic life that is happy and valued. Implications from this study allow policy makers and practitioners to adopt a new designed policy in implementation at the basic education level. The policy implementation tools were included 1) mandates 2) inducement/campaign 3) capacity building and 4) system change This study will contribute to better insight on how a policy is designed before implementation and how it should be implemented into educational institutions. | en_US |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา | en_US |
dc.rights | สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา | en_US |
dc.subject | การศึกษา | en_US |
dc.subject | การปฏิรูปการศึกษา | en_US |
dc.subject | Education | en_US |
dc.subject | Educational change | en_US |
dc.title | การออกแบบนโยบายการพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040 : รายงานการวิจัย | en_US |
dc.title.alternative | Policy Design for Transforming Learning Systems Responsive to Future Global Changes in 2040 | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukanya_Ch_Res_2564.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 10.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.