Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81970
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเรวดี สันถวไมตรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-03-15T10:35:09Z-
dc.date.available2023-03-15T10:35:09Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81970-
dc.descriptionนักเรียนออทิสติก -- นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา -- วีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) -- การให้ข้อมูลย้อนกลับจากวีดิทัศน์แสดงพฤติกรรมของนักเรียน (Video Feedback) -- ทักษะการประกอบอาหารและผลกรทบของรูปแบบการสอนต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง -- การวิจัยแบบตัวอย่างวิจัยเดี่ยว (Single Subject Design)en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาทักษะการประกอบอาหารของนักเรียนออทิสติกและนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้รูปแบบการสอนด้วยวีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) และ การให้ข้อมูลย้อนกลับจากวีดิทัศน์แสดงพฤติกรรมของนักเรียน (Video Feedback) 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้รูปแบบการสอนดังกล่าวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง และอาจารย์ โดยใช้การวิจัย เชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single-Subject Design) รูปแบบหลายเส้นฐานข้ามพฤติกรรม Multiple-Baseline Design across Behavior โดยใช้กระบวนการเก็บข้อมูลทำซ้ำกับกลุ่มตัวอย่าง 3 คน ในรูปแบบเดียวกันซึ่งเป็นนักเรียนออทิสติก เพศชาย 2 คน และนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา เพศหญิง 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) วีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม จำนวน 3 วีดิทัศน์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) และการให้ข้อมูลย้อนกลับจากวีดิทัศน์แสดงพฤติกรรมของนักเรียน (Video Feedback) 3) แบบประเมินการปฏิบัติทักษะการประกอบอาหาร และ 4) แบบประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบการสอนฉบับสำหรับนักเรียน และ ฉบับสำหรับผู้ปกครองและอาจารย์ ผลการวิจัย พบว่า1) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 คน มีร้อยละคะแนนความถูกต้องการปฏิบัติทักษะการประกอบอาหารแต่ละรายการสูงขึ้นหลังการใช้รูปแบบการสอนด้วยวีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) และการให้ข้อมูลย้อนกลับจากวีดิทัศน์แสดงพฤติกรรมของนักเรียน (Video Feedback) ทั้งในระยะจัดกระทำ ระยะนำไปใช้ และระยะติดตามผลจึงสนับสนุนสมมติฐานการวิจัย 2) นักเรียน ผู้ปกครอง และอาจารย์ ให้คะแนนที่แสดงว่า เห็นด้วย กับการใช้รูปแบบการสอนในแง่ของการตั้งวัตถุประสงค์และการเลือกทักษะ กระบวนการ และผลของรูปแบบการสอน และเห็นว่ารูปแบบการสอนให้ผลกระทบไปในทางบวกที่เป็นประโยชน์กับนักเรียน คือสามารถปฏิบัติทักษะการประกอบอาหารตามรายการที่กำหนดได้en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนโดย เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ปีงบประมาณ 2564en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเด็กออทิสติก -- การศึกษาen_US
dc.subjectเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาen_US
dc.subjectคนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา -- การศึกษาen_US
dc.subjectการปรุงอาหารสำหรับคนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาen_US
dc.titleการพัฒนาทักษะการประกอบอาหารของนักเรียนออทิสติกและนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้รูปแบบการสอนด้วยวีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรมและการให้ข้อมูลย้อนกลับจากวีดิทัศน์แสดงพฤติกรรมของนักเรียน : รายงานการวิจัยen_US
dc.title.alternativeThe Development of Cooking Skill for Children with Autism and Children with Intellectual Disability by Using Video Modeling and Video Feedback Techniquesen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Res_Ed_Ravadee Sa_2565.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)117.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.