Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81972
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กนิษฐา ภัทรกุล | - |
dc.contributor.author | ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล | - |
dc.contributor.author | นพดล แสงจันทร์ | - |
dc.contributor.author | Jacquet, Alain | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-03-16T08:13:03Z | - |
dc.date.available | 2023-03-16T08:13:03Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81972 | - |
dc.description.abstract | โรคเลปโตสไปโรซิสเป็นโรคที่มีการแพร่กระจายในหลายพื้นที่รวมทั้งประเทศไทย มีสาเหตุมาจากเชื้อเลปโตสไปราสายพันธุ์ก่อโรค ซึ่งพยาธิกำเนิดของโรคยังไม่ทราบชัดเจน โปรตีนบนผิวเซลล์เป็นส่วนแรกที่เชื้อสัมผัสกับเซลล์ของโฮสต์และสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาวัคซีน การหาโปรตีนบนผิวเซลล์ทั้งหมดจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาพยาธิกำเนิด และการค้นหาวัคซีนตัวใหม่ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจำแนกโปรตีนบนผิวเซลล์ทั้งหมดของเชื้อเลปโตสไปราสายพันธุ์ก่อโรค Leptospira interrogans serovar Pomona ในการศึกษานี้ใช้ 2 วิธี ในการคัดแยกโปรตีนบนผิวเซลล์ออกจากโปรตีนอื่น ได้แก่ วิธีการย่อยโปรตีนบนผิวเซลล์ด้วยเอนไซม์โปรติเอส (protease shaving) และวิธีการติดฉลากโปรตีนที่ผิวเซลล์ด้วยไบโอติน (surface biotinylation) ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้จาก เชื้อเลปโตสไปราที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่แตก (intact cells) ภายหลังการถูกย่อยด้วยเอนไซม์โปรติเนสเค (proteinase K) และติดฉลากด้วยไบโอติน ความสมบูรณ์ของผนังเซลล์ถูกตรวจสอบโดยวิธีย้อมฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent staining) และ เวสเทิร์น บล็อททิง (Western blotting) ตรวจสอบโปรตีน FlaA1 ซึ่งอยู่ระหว่างผนังเซลล์ชั้นนอกกับชั้นในของเชื้อ และโปรตีน OmpL1 หรือ OmpL47 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทราบก่อนหน้านี้แล้วว่าเป็นโปรตีนบนผิวเซลล์ แล้วจึงนำตัวอย่างที่ได้ไปจำแนกชนิดโปรตีนด้วยวิธี liquid chromatography tandem mass spectrometry (LC-MS/MS) และวิเคราะห์ทำนายตำแหน่งของโปรตีนที่ได้ด้วยเครื่องมือทางชีวสารสนเทศ (bioinformatics) เทียบกับฐานข้อมูลโปรตีน (protein database) ผลการศึกษาพบว่ามีโปรตีนที่คาดว่าจะมีตำแหน่งอยู่ที่ผนังเซลล์ชั้นนอก 130 ชนิดจากวิธีย่อยโปรตีนด้วยเอนไซม์ และ 212 ชนิดจากวิธีติดฉลากด้วยไบโอติน เมื่อจัดลำดับโปรตีนด้วยปริมาณการแสดงออกพบว่า 12 โปรตีนถูกพบในทุกครั้งของทั้ง 2 วิธี และ 9 โปรตีนถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นโปรตีนบนผิวเซลล์ ได้แก่ LipL32 LipL41 LipL71 LipL46 OmpL36 LipL21 OmpL1 Elongation factor Tu และ Loa22 ดังนั้นงานวิจัยนี้ทำให้ได้ข้อมูลโปรตีนบนผิวเซลล์ของเชื้อเลปโตสไปราสายพันธุ์ก่อโรค Leptospira interrogans serovar Pomona รวมทั้งยังมีโปรตีนอีกหลายชนิดที่ยังไม่เคยทราบว่าเป็นโปรตีนบนผิวเซลล์ และจะนำไปใช้ศึกษาพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ต่อไปในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | Leptospirosis is a re-emerging zoonosis of global distribution including Thailand. It caused by pathogenic Leptospira. The pathogenesis of leptospirosis remains unclear. Surface-exposed outer membrane proteins (OMPs) are the first components for interactions with host cells and immune system and should be potential targets for vaccine development. The study of surface proteomics will be important for better understanding of pathogenesis and identification of new vaccine candidates. This study aimed to identify surface proteome of pathogenic Leptospira by surface shaving using proteinase K and surface biotinylation. Intact leptospiral proteins were labeled with biotin (Sulfo-NHS-SS-Biotin). After proteinase K treatment and biotinylation, the membrane integrity of leptospires was determined by immunofluorescence staining and Western blotting using antibodies against periplasmic protein FlaA1 and known surface-exposed outer membrane protein OmpL1 or OmpL47. Proteins obtained from both methods were further identified by liquid chromatography tandem-mass spectrometry (LC-MS/MS). We found 212 putative OMPs from surface biotinylation and 130 putative OMPs from surface shaving. Based on protein abundance by MaxQuant software, 12 OMPs were found in all replicate experiments of both methods. Nine proteins have already confirmed as surface exposed OMPs including Lipl32, LipL41, LipL71, LipL46, OmpL36, LipL21, OmpL1, Elongation factor Tu, and Loa22. Therefore, this study was able to obtain surface-exposed OMPs of Leptospira interrogans serovar Pomona. There were several hypothetical proteins that are putative surface-exposed OMPs and should be evaluate as new vaccine candidates in the future. | en_US |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2561 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | วัคซีน | en_US |
dc.subject | เลปโตสไปโรซิส | en_US |
dc.subject | โปรตีโอมิกส์ | en_US |
dc.title | การค้นหาวัคซีนแอนติเจนตัวใหม่ของโรคเลปโตสไปโรซิสโดยอาศัยโปรตีโอมิกส์ของโปรตีนบนผิวเซลล์ | en_US |
dc.title.alternative | Identification of new leptospirosis vaccine antigens by cell-surface proteomics | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Med_Kanitha Pat_2561.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.