Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82035
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงษ์ลิขิต เพชรผล-
dc.contributor.authorปริษา อัคคีเดช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-05-01T09:53:06Z-
dc.date.available2023-05-01T09:53:06Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82035-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง กลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า ตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ 2)ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางกลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้าตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน และครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง กลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า 7 โรงเรียน จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง กลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า ตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางกลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า ตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.176) รองลงมา คือ การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา (PNI [modified] = 0.162) การวัดและประเมินผล (PNI [modified] = 0.156) และด้านการจัดการเรียนการสอน (PNI [modified] = 0.152) ตามลำดับ ซึ่งการบริหาวิชาการทั้งหมดมีองค์ประกอบของกรอบคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การมีความกล้าเสี่ยงที่จะลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ (PNI [modified] = 0.181) และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางกลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า ตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มี 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย 22 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการประเมินผลการใช้หลักสูตรเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านการมีความกล้าเสี่ยง ที่จะลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ ประกอบด้วย แนวทางย่อย 4 วิธีดำเนินการ แนวทางที่ 2 พัฒนาและส่งเสริมให้มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้านคุณลักษณะการมีความกล้าเสี่ยง ที่จะลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 5 วิธีดำเนินการ แนวทางที่ 3 ปรับปรุงการวัดและประเมินผล โดยที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้านการมีความคิดที่หลากหลาย ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 6 วิธีดำเนินการและแนวทางที่ 4 พัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้านคุณลักษณะการมีความคิดที่หลากหลาย ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 7 วิธีดำเนินการen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was conducted with a descriptive style with the purposes to 1) study the priority needs of developing academic administration of the medium Tachin-Gaona group primary School based on the concept of creative problem solvers characteristics and 2) study approaches for developing academic administration of the medium Tachin-Gaona group primary School based on the concept of creative problem solvers characteristics. Information contributors were 81 personnel, including 7 school directors and 74 teachers of Grade 1-6. The research instruments were a rating-scaled questionnaire and an evaluation form for the rating of appropriateness and the possibility of the proposing approaches. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, modified priority needs index (PNI [modified]), mode and content analysis. The results were as follows: 1) The highest priority needs index of the medium Tachin-Gaona group primary schools based on the concept of creative problem solvers characteristics was the curriculum development (PNI [modified] = 0.176); the second priority needs index was the development approaches for using media and educational technology (PNI [modified] = 0.162); the third priority needs index was the measurement and evaluation approaches (PNI [modified] = 0.156) and the last priority needs index was the teaching (PNI [modified] = 0.152), respectively; The scope of those four aspects of academic management had the highest needed component of daring to risk that to do new things (PNI [modified] = 0.176) and 2) There were 4 priority approaches, 8 sub-approachs and 22 procedures of developing academic administration of the medium Tachin-Gaona group primary schools based on the concept of creative problem solvers characteristics. The approaches sorted by priority needs index were (1) Developing the curriculum of school that enables learner’s characteristics of taking the risk of doing new things, consisting 2 sub-approaches 4 processes. (2) Developing the using media and educational technology that enables learner’s characteristics of taking the risk of doing new things, consisting 2 sub-approaches 5 processes. (3) Developing the measurement and evaluation that enables learner’s characteristics of various thinking, consisting 2 sub-approaches 6 processes. (4) Developing the instructional management that enables learner’s characteristics of various thinking, consisting 2 sub-approaches 7 processes.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.345-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารการศึกษาen_US
dc.subjectการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาen_US
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหารen_US
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- ไทย -- นครปฐมen_US
dc.subjectการแก้ปัญหาen_US
dc.subjectElementary school administrationen_US
dc.subjectElementary schools -- Administrationen_US
dc.subjectElementary schools -- Thailand -- Nakhon Pathomen_US
dc.subjectProblem solvingen_US
dc.titleแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง กลุ่มโรงเรียนท่าจีนก้าวหน้า ตามแนวคิดคุณลักษณะนักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์en_US
dc.title.alternativeApproaches for developing academic administration of the medium Tachin-Gaona group primary schools based on the concept of creative problem solvers characteristicsen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.345-
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6280085527_Parisa_Ak.pdfสารนิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)331.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.