Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82090
Title: การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Development of health literacy promoting program about particulate matters for secondary school students
Authors: ญาณิศา พึ่งเกตุ
จินตนา สรายุทธพิทักษ์
สุธนะ ติงศภัทิย์
สริญญา รอดพิพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: มลพิษทางอากาศ
ฝุ่น
การสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพ
การแพทย์ -- บริการสารสนเทศ
Issue Date: May-2565
Publisher: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
Citation: วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 14,2 (พ.ค. - ส.ค. 2565) หน้า 201 - 216
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กส าหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยมีวิธีการด าเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4ระยะ ดังนี้ ระยะที่1การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพ แนวคิดเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก การประเมินความฉลาดรู้ทางสุขภาพ ระยะที่ 2การวิเคราะห์สังเคราะห์แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานระยะที่ 3สร้างและพัฒนาโปรแกรมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กระยะที่ 4การตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมส่งเสริมความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้นโดยการเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ จ านวน 5 ท่าน ศึกษาความสอดคล้องจากการหาค่าดัชนีความสอดคล้องจากแบบประเมิน 3 แบบคือ 1) แบบประเมินหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาองค์ประกอบของกิจกรรม 2) แบบประเมินหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาของกิจกรรม 8กิจกรรม และ 3) แบบประเมินหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาของตารางการจัดโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น และน ามาปรับปรุงโปรแกรมให้มีความสมบูรณ์ ผลการวิจัย พบว่าองค์ประกอบของโปรแกรมประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม วัตถุประสงค์ ขั้นตอนในการด าเนินกิจกรรม สื่อการเรียนรู้/แหล่งข้อมูล และการประเมินผล มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ0.82กิจกรรมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมี จ านวน 8กิจกรรม ได้แก่1) สร้างความรู้คู่ฝุ่นจิ๋ว2) ช่องทางที่ฉันเลือกเชื่อถือได้แค่ไหน3) จนกว่าจะสื่อสาร (ฝุ่น) เข้าใจกัน4) ความสามารถสู้ฝุ่นของฉัน5) ข่าวจริงหรือข่าวปลอม6) การตัดสินใจที่ฉันเลือก7) ลับสมองสู้ฝุ่น8) เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์มีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 1.00และค่าดัชนีความสอดคล้องของการจัดตารางกิจกรรมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้เวลา 8สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2วันวันละ 1ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1.00โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความฉลาดรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น
Other Abstract: The purpose of this research was to develop a health literacy promotion program about particulate matters for secondary school students. The research methodology was divided into 4 phases;phase 1, reviewing of the research literature onconcept of particulate mattersthe health literacy promotionand healthliteracy assessment, phase 2, analyzingconcept of Phenomenon Based Learning and Blended Learning.A health literacy promotion program about particulate matters, phase 3,an expert analysis of the quality of the program by five experts included 1) assessment form for content validity, activity components 2) content validity evaluation of 8 activities and 3) an evaluation form for content validity of the developed program. The results showed that index of congruence of the program consisted of the activity title, purpose, conceptual framework, and the steps in each activity were0.82. This program had 8activities i.e., 1)enhance knowledge2) reliable channel3) dust communication4) my ability 5) fake or not 6) my decision7) mind game and 8) สearn creatively. The average mean of index of congruence was 1.00. The program was set for 8 weeks, 2 days per week, and 1 hour per day. The index of congruencies of the overall program was 1.00.Thisprogram was determined topromote secondary schoolhealth literacy aboutparticulate matters.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82090
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/250325
ISSN: 2697 5793
Type: Article
Appears in Collections:Thai Journal Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
html_submission_85063.htmlบทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext)2.79 kBHTMLView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.