Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82122
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทัชมัย ฤกษะสุต | - |
dc.contributor.author | ธิชา ภัทจารีสกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-05-29T08:51:32Z | - |
dc.date.available | 2023-05-29T08:51:32Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82122 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | en_US |
dc.description.abstract | การจัดหาเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญเนื่องจากเงินทุนแต่ละแหล่งจะก่อให้เกิดภาระผูกพันและมีต้นทุนที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป โดยผู้บริหารสามารถพิจารณาการจัดหาแหล่งเงินทุนผ่านการประเมินสภาพคล่องและการประมาณการถึงกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบันทึกรายการต้นทุนการกู้ยืมที่มีผลจากการจัดหาเงินทุนจึงได้มีการนำมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะมาปรับใช้ เนื่องจากรายการดังกล่าวมีผลกระทบต่องบการเงินเป็นวงกว้างและกระทบกับหลายบัญชีไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้หรือแม้กระทั่งค่าใช้จ่าย ซึ่งผลกระทบดังกล่าวที่เกิดขึ้นนี้ย่อมมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม (ปรับปรุง 2562) โดยมีข้อกำหนดถึงหลักเกณฑ์การรับรู้รายการและวิธีการปฏิบัติให้กับ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีสามารถจัดทำบัญชีโดยอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน หลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐาน การบัญชีฉบับนี้กำหนดให้สินทรัพย์ที่แสดงอยู่ในงบการเงินต้องสามารถสะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ได้ โดยกิจการจะต้องประเมินถึงมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับและรับรู้ค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าเมื่อสินทรัพย์นั้นมีราคาทุนสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขณะที่หลักเกณฑ์การรับรู้รายการต้นทุนการกู้ยืมในสินทรัพย์ ทางภาษีอากรไม่ได้มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้เป็นการเฉพาะ จะมีเพียงมาตรา 65 ในประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้รับรู้รายการรายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์สิทธิโดยไม่ได้มีการพิจารณาถึงมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ จึงส่งผลให้มูลค่าของสินทรัพย์ในทางภาษีอากรไม่สามารถสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้ ซึ่งผลแตกต่างระหว่าง การรับรู้รายการตามมาตรฐานการบัญชีและทางภาษีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการแสดงข้อมูลในงบการเงินและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่าหากกรมสรรพากรมีการกำหนดเงื่อนไขในการรับรู้รายการโดยพิจารณาถึง มูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติไว้เป็นการเฉพาะจะช่วยทำให้มูลค่าของสินทรัพย์สามารถสะท้อนได้ถึงประโยชน์ที่กิจการจะได้รับและส่งผลให้การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นไปตามหลักภาษีอากรที่ดีตามหลักของผลประโยชน์ที่ได้รับ อีกทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะจะช่วยทำให้ลดการใช้ดุลยพินิจในการรับรู้รายการทั้งในส่วนของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ซึ่งจะช่วยทำให้ลดความไม่แน่นอนและช่วยเพิ่มความสม่ำเสมอในการรับรู้รายการ อีกทั้งยังส่งผลให้เกิด ความเป็นธรรมและความเท่าเทียมอีกด้วย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.150 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การกู้ยืม | en_US |
dc.subject | การคำนวณภาษีอากร | en_US |
dc.title | การนำหลักการและวิธีการคำนวณต้นทุนการกู้ยืมตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 23 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืมมาปรับใช้กับการคำนวณต้นทางการกู้ยืมทางภาษีอากร | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject.keyword | ต้นทุนการกู้ยืม | en_US |
dc.subject.keyword | การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2022.150 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480215834.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.