Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82123
Title: แนวทางในการนำบริจาคบริการมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย
Authors: นวพร กิจประเสริฐ
Advisors: อาร์ม ตั้งนิรันดร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: สิทธิประโยชน์ทางภาษี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การให้ (กฎหมาย)
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และปัญหาเกี่ยวกับการบริจาคและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคสำหรับบุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร พร้อมทั้งศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคเป็นบริการของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคเป็นเงินบริจาคเท่านั้น หากผู้เสียภาษีต้องการบริจาคเป็นบริการหรือสละเวลาทำงานจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยการใช้แรงกาย เวลาหรือบริการแทนเงินบริจาค จะไม่มีหลักเกณฑ์ในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคเป็นบริการ และยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการวัดมูลค่าของเวลาและบริการที่ใช้ไปในการบริจาคเพื่อคำนวณสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในขณะที่กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียนั้นมีข้อกำหนดในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาคเป็นบริการสำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การบริจาคบริการเป็นหนึ่งในรูปแบบของการช่วยเหลือสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ รวมถึงมีข้อดีทั้งในแง่ของการลดภาระทางการคลังของรัฐบาลและช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมขององค์กรการกุศล ดังนั้นภาครัฐจึงควรปรับปรุงบทบัญญัติทางกฎหมายของประเทศไทยเพื่อให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและเป็นไปตามหลักการบริหารภาษีอากรที่ดี โดยนำหลักเกณฑ์ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียมาปรับใช้ ทำให้บุคคลธรรมดาสามารถบริจาคเป็นบริการและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการบริจาคบริการเพื่อการกุศลมาหักลดหย่อนภาษีได้ ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถวัดมูลค่าของบริการหรือมูลค่าของเวลาที่ใช้ไปเพื่อนำมาลดหย่อนภาษี แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงอันเป็นผลโดยตรงจากบริการเพื่อช่วยเหลือสังคมจะสามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการสนับสนุนบริจาคบริการในภาคเอกชน และถ้าหากผู้บริจาคได้รับค่าตอบแทนจากองค์กรการกุศลในฐานะที่เป็นอาสาสมัครหรือเป็นผู้ให้บริการเพื่อการกุศล ไม่ว่าจะเป็นเงินจ่ายคืนจากค่าใช้จ่ายที่อาสาสมัครออกเงินไปก่อน หรือเงินค่าธรรมเนียมการให้บริการจะถือเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อช่วยบรรเทาภาระภาษีของภาคเอกชนที่มีเจตนาที่จะบริการเพื่อช่วยเหลือสังคมโดยไม่ได้หวังผลตอบแทนใด ๆ
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82123
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.151
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2022.151
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480216434.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.