Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82129
Title: แนวทางการจัดเก็บและยกเว้นภาษีสรรพสามิตจากบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการกู้คืนบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย
Authors: ปริญญ์ วานิชพิพัฒน์
Advisors: ทัชมัย ฤกษะสุต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: ภาษีสรรพสามิต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
บรรจุภัณฑ์ -- การนำกลับมาใช้ใหม่
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันในประเทศไทยมีการใช้บรรจุภัณฑ์อย่างแพร่หลายก่อให้เกิดขยะจากบรรจุภัณฑ์จำนวนมหาศาล ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการการจัดการขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่ดีเท่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถกำจัดขยะบรรจุภัณฑ์ได้อย่างถูกวิธี เนื่องจากไม่ได้มีการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางจึงไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์ที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ซึ่งขยะบรรจุภัณฑ์ส่วนมากที่พบล้วนเป็นขยะที่ย่อยสลายยากไม่ว่าจะเป็น ขวดน้ำพลาสติก ขวดโลหะ หรือแม้แต่ขวดแก้ว และปัญหาการทิ้งขยะบรรจุภัณฑ์ที่กระจัดกระจายนั้นยังนำไปสู่ปัญหาการ อุดตันตามท่อระบายน้ำทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม ปัญหาขยะลอยในแม่น้ำและไหลลงทะเลในที่สุด ในปัจจุบันพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ไม่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากบรรจุภัณฑ์ โดยไม่ได้บัญญัติให้บรรจุภัณฑ์เป็นสินค้าที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีสรรพสามิตจึงไม่ได้กำหนดประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องเสียภาษี และไม่ได้กำหนดอัตราภาษีของบรรจุภัณฑ์แต่ละชนิดประเภทไว้เป็นอย่างเฉพาะ รวมทั้งไม่มีมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการต้องมีระบบการกู้คืนบรรจุภัณฑ์ของตนเองกลับคืนมาเพื่อประโยชน์ในการใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดขยะบรรจุภัณฑ์และเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะบรรจุภัณฑ์ตกค้างสะสมในประเทศไทย ซึ่งจากการศึกษาหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตและนำเข้ารวมถึงการบังคับใช้มาตรการยกเว้นทางภาษีจากการกู้คืนบรรจุภัณฑ์ของสาธารณรัฐเอสโตเนีย ที่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบรรจุภัณฑ์ในอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละประเภทของวัสดุบรรจุภัณฑ์ ขึ้นอยู่กับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและความยากง่ายในการนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล รวมถึงให้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีสรรพสามิตกับผู้ประกอบการที่ทำการกู้คืนบรรจุภัณฑ์ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด อีกทั้งยังมีการใช้ระบบวางมัดจำเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกู้คืนขยะ และเพื่อให้มาตรการทางภาษีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการบังคับใช้มาตรการทางภาษีและการกู้คืนของสาธารณรัฐเอสโตเนีย พบว่าอัตราการกู้คืนขยะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณขยะของประเทศ และยังทำให้สาธารณรัฐเอสโตเนียสามารถบรรลุเป้าหมายการกู้คืนบรรจุภัณฑ์ตามที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตและนำเข้า รวมถึงการบังคับใช้มาตรการยกเว้นทางภาษีจากการกู้คืนบรรจุภัณฑ์มาบังคับใช้ โดยให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตบรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตและนำเข้าในอัตราที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุบรรจุภัณฑ์และจัดให้มีการยกเว้นภาษีให้กับผู้ผลิตและผู้นำเข้าที่สามารถกู้คืนบรรจุภัณฑ์ได้ตามเป้าหมายการกู้คืนที่กำหนด โดยภาครัฐต้องกำหนดอัตราการ กู้คืนที่เหมาะสม อีกทั้งควรมีการจัดตั้งองค์กรกู้คืนเพื่อช่วยกลุ่มธุรกิจขนาดย่อยในการจัดการกู้คืนขยะ ควรให้มีการนำระบบการวางมัดจำมาใช้เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม และควรมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ผลิต ผู้นำเข้า และองค์กรกู้คืนที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการกู้คืนและไม่สามารถกู้คืนบรรจุภัณฑ์ได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การบังคับใช้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82129
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.155
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2022.155
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480221534.pdf923.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.