Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82132
Title: แนวทางของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียในการออกตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืนเพื่อป้องกันประเด็นปัญหาการฟองเขียว (Greenwashing) ซี่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน
Authors: ปาณิสรา เบ็ญจกุล
Advisors: ศารทูล สันติวาสะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: ตราสารหนี้
การลงทุน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แนวความคิดในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับความยั่งยืนด้วยการผนวกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือที่เรียกรวมๆ กันว่า “ESG” กำลังได้รับความสนใจในมุมกว้าง โดยเฉพาะตลาดทุนในฐานะที่เป็นศูนย์กลางในการระดมเงินทุนจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนดังกล่าว ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่ได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ “ตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน” หรือ “ESG Bond” ตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยในปัจจุบันมีเครื่องมือการระดมทุนประเภทตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน 4 ประเภท ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1) ตราสารหนี้ที่พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน (Use of Proceeds-based Financing) ได้แก่ ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond) และตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และกลุ่มที่ 2) ตราสารหนี้ที่อ้างอิงกับผลสำเร็จที่คาดหมายในอนาคต (Forward-looking performance-based instrument หรือ Sustainability-Linked Financing) ได้แก่ ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond) Sustainability-Linked Bond หรือ SLB คือ ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืนรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยมีเงื่อนไขการให้ผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ยที่สามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับผลสำเร็จของตัวชี้วัดและเป้าหมายของบริษัทผู้ออก SLB ที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยผู้ออกตราสารสามารถนำเงินไปใช้ในวัตถุประสงค์ใดก็ได้ ด้วยการเปิดกว้างในเรื่องของวัตถุประสงค์การใช้เงินซึ่งมีความยืดหยุ่นมากเกินไปนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้นักลงทุนมีความกังวลว่า เม็ดเงินที่ลงทุนไปนั้นอาจจะไม่ได้ถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนอย่างแท้จริงและอาจจะก่อให้เกิดภาวะการฟอกเขียว (Greenwashing) ในตลาดทุนได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันภาวะการฟอกเขียวในการลงทุนในตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน ข้อมูลจะต้องมีความชัดเจนเพียงพอและโปร่งใส โดยข้อมูลที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลและเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้วนี้เองจะเป็นข้อมูลสำคัญที่นักลงทุนนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้น สหภาพยุโรป ภูมิภาคที่เป็นผู้นำด้านการลงทุนด้านความยั่งยืนได้มีการออกกฎหมายการจัดหมวดหมู่ธุรกิจสีเขียว หรือที่รู้จักกันในชื่อ “EU Taxonomy Regulation” ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าธุรกิจใดเข้าข่ายเป็นธุรกิจสีเขียว (Environmentally Sustainable) ซึ่งจะช่วยเป็นกรอบอ้างอิงให้ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการเงิน สามารถบรรจุแนวคิดความยั่งยืนลงไปในระดับจุลภาคเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ตามทิศทางที่กำหนด การมีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอในประเทศไทยจะช่วยป้องกันหรือลดภาวะฟอกเขียวได้และส่งเสริมให้ตลาดทุนเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยการกำหนดนิยามกิจกรรมทางเศรษฐกิจสีเขียว (Taxonomy) เพื่อให้สามารถจำแนกและจัดสรรเงินทุนไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของไทย (Thai Taxonomy)
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82132
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.157
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2022.157
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480225034.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.